การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ ให้แก่ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ, กลโกงของมิจฉาชีพ, ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพให้แก่ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 2) ศึกษาการทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพกับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะจงกับประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามที่เคยเห็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ จำนวน 400 คน โดยแบบสอบถามออนไลน์มีความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.862 การทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.956 และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ โปสเตอร์มีขนาด A3 แนวตั้ง จำนวน 3 แบบ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพ 2) ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 3) ประชาชนในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
มีความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และ 4) การทราบถึงการเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพกับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.862 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
References
คมชัดลึกออนไลน์. (2565). "พ่อสุดช็อก" หลังลูก 10 ขวบ ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินกว่า 1.2 ล้าน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.komchadluek.net/news/524385. (2566, 14 มกราคม)
ฉายสิริ พัฒนาถาวร บุษบา สุธีธร และเสาวนี ชินาลอง. (2565). การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจสื่อออนไลน์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 9(1): 62-79.
ชาลิสา มากแผ่นทอง. (2559). การวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมณฑน์ นันทารียะวัฒน์. (2558). ความต้องการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากหนังสือนวนิยายไทย ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณฐชฆล ตันหยงมาศ และพรพรหม ชมงาม. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารของหน่วยงาน สสส. กับแรงจูงใจในการออกกำลังกายของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงค์กรณ์ปริทัศน์. 13(1): 109-120.
ไทยรัฐออนไลน์. (2565). จับแก๊งต้มขายมือถือ ด.ญ.14 ส่งผงซักฟอก ยัด “พัสดุ” แทน มีเหยื่อเพียบ!. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:https://www.thairath.co.th/news/local/central/2440805. (2566, 13 มกราคม)
นันรณา จำลอง และสมโภชน์ ชื่นเอี่ยม. (2558). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บุษบา สุธีธร. (2555). หน่วยที่ 6 การสร้างสรรค์และผลิตสื่อเฉพาะกิจเพื่อการประชาสัมพันธ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และผลิตงานประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 6-10 (ปรับปรุงครั้งที่ 1). (หน้า 1-60). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์. (2540). การออกแบบนิเทศศิลป์ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารและตำราสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล. (2565). ตร.เตือนภัยประชาชน 14 ข้อกลโกงมิจฉาชีพ มักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://sbpolice.go.th/news/ตร.เตือนภัยประชาชน14ข้อกลโกงมิจฉาชีพ มักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์_592.html. (2565, 3 ธันวาคม)
สมยศ พลีไพร. (2565). รองสารวัตรสถานีตำรวจภูธร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. สัมภาษณ์, 25 พฤศจิกายน 2565.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). จำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2564 ระดับอำเภอ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php. (2565, 4 ธันวาคม)
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2549). เรียนรู้วิธีการและงานบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อรวรรณ แท่งทอง. (2562). การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับประชาสัมพันธ์ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 6(2): 57-66.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์ (Public Relation Media). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
PPTV Online. (2565). รับจ้างเปิด "บัญชีม้า" ได้ไม่คุ้มเสีย! โทษหนักเสี่ยงคุก 10 ปี ปรับสูงสุด 2 แสนบาท. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/181026. (2566, 9 มีนาคม)
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterian-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2(1): 49-60.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Zwilling, M., Klien, G., Lesjak, G., Wiechetek, L., Cetin, F., & Basim, H. N. (2020). Cyber security awareness, knowledge and behavior: a comparative study. Journal of Computer Information System. DOI: 10.1080/08874417.2020.1712269.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 จิตตมาศ พลีไพร, ดลฤดี ศรีมันตะ, กำพล ดวงพรประเสริฐ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์