กลวิธีทางภาษาที่ใช้สร้างความขบขันในการทำนายดวงชะตา ของเฟซบุ๊กแฟนเพจโหรรัตนโกสินทร์
คำสำคัญ:
กลวิธีทางภาษา, ความขบขัน, การทำนายดวงชะตาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาเพื่อสร้างความขบขันที่ปรากฏ ในการทำนายดวงชะตา โดยการเก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กแฟนเพจโหรรัตนโกสินทร์ - The rattanakosin ที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 116 ข้อความ ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีทางภาษาที่ใช้สร้างความขบขันประกอบด้วยกลวิธีทางภาษา ระดับคำและกลวิธีทางภาษาระดับข้อความ โดยที่กลวิธีทางภาษาระดับคำพบ 4 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำพ้อง การซ้ำคำ การใช้คำภาษาถิ่น และการใช้คำสัมผัส ส่วนกลวิธีทางภาษาระดับข้อความ พบ 7 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำเสียดสี การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การใช้ถ้อยคำเชิงเปรียบเทียบ การกล่าวเกินจริง การอ้างถึง การดัดแปลงสำนวน และการใช้เนื้อเพลงประกอบคำทำนาย ซึ่งกลวิธีดังกล่าวทำให้เนื้อความน่าสนใจ ชวนติดตาม และยังสะท้อนให้เห็นถึงถ้อยคำภาษาที่สื่อถึง ความขบขัน เพื่อแฝงเจตนาประชดประชันและเสียดสี
References
กมลวรรณ ฐิติเจริญรักษ์. (2550). ภาษาหมอดูในสังคมปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
กิ่งแก้ว อัตถากร และธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์. (2537). หน่วยที่ 9 ความเชื่อ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา ภาษาไทย 8 (คติชนวิทยาสำหรับครู) หน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกษสุดา จันทะชาติ และจารุวรรณ ธรรมวัตร. (2564). กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสร้างความตลกขบขัน ในนิทานก้อมอีสานออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40(4): 19-31.
ชนกพร พัวพัฒนกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมการพยากรณ์ดวงชะตา: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐาปนี สีทาจันทร์, นันทมน คภะสุวรรณ, จุฬาลักษณ์ ลาพานิชย์, วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และวุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2564). กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออารมณ์ขันในรายการ “ตามใจตุ๊ด”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 21(2): 274-298.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ไลฟ์สไตล์: เปิดพฤติกรรมคนไทย “สายมู” กว่า 75% เชื่อเรื่องดูดวง กลุ่ม Gen Y มาแรงเป็นอันดับ 1. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2481670. (2566, 25 สิงหาคม).
ธีรพงศ์ มีโภค. (2564). กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในนิทานก้อมพื้นบ้านอีสานช่องยูทูบ THAI TALE. วารสารอักษราพิบูล. 2(1): 78-96.
ปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2549). การศึกษาความสุภาพในการขอร้องและการปฏิเสธในการติดต่อธุรกิจทางจดหมายในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
เรวดี สกุลอาริยะ. (2552). การพยากรณ์โชคชะตาและกระบวนการช่วยเหลือด้านจิตใจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โหรรัตนโกสินทร์ - The rattanakosin. (2566). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/Therattanakosin. (2566, 1 กรกฎาคม).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สุพรรณี เรืองสงค์, พิชญาณี เชิงคีรี ไชยยะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์