การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของสมรรถนะ การวัดและประเมินผลของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • กันต์ฤทัย คลังพหล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • วัสส์พร จิโรจพันธุ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง, สมรรถนะการวัดและประเมินผล, ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของสมรรถนะ การวัดและประเมินผลของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 200 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดให้ปีการศึกษาเป็นชั้น โดยมีปีการศึกษา 2563-2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รายข้อ ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.559-0.812 มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.971 และเมื่อแยกรายองค์ประกอบมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.898 ถึง 0.963 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่า KMO (Kaiser-Meyer-Olkin) ค่า Bartlett’s Test of Sphericity และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการวัดและประเมินผลของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และคุณลักษณะ และ 8 ตัวบ่งชี้ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดย พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ Chi-square = 12.90, df = 10, Chi-square/df = 1.29, p-value = 0.22908, RMSEA = 0.038, CFI = 0.998, SRMR = 0.0226, GFI =0.984 , AGFI =0.943 แต่ละองค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.820 ถึง 1.000 แต่ละตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.823 ถึง 0.939

References

กันต์ฤทัย คลังพหล. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

กัลย์วิสาข์ ธาราวร และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิคทางการศึกษา. 11(3): 374–389.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS FOR WINDOWS. (พิมพ์ครั้งที่ 14). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศนีย์ อิ่นอ้าย, พงศ์วัชร ฟองกันทา และฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 4(4): 161-172.

คุรุสภา. (2563). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/109/T_0010.PDF

จันทิมา จันทรประสาท, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และยุวรี ผลพันธิน. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทยมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(3): 1577-1595.

จารุรัตน์ แก้วรอด, วารุณี ลัภนโชคดี และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2566). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารการวัดประเมินผลสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์. 4(2): 50-63.

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561) https://plan.vru.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/Plan-rdi1_1.pdf

พินดา วราสุนันท์ และวิทยา ซิ้มเจริญ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษายุคโควิด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 15(3): 155-165.

วรวุฒิ วงศ์วีระขันธ์, จตุภูมิ เขตจัตุรัส และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(3): 280-293.

วัสส์พร จิโรจพันธุ์ และกันต์ฤทัย คลังพหล. (2558). ผลการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(2): 273-285.

ศิริชัย กาญจนวสี, (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาส ชุมแก้ว และปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2564). สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลของครูยุคใหม่. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(2): 1-15.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ก). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ข). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2567. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ค). รายงานการวิเคราะห์สมรรถนะและการปฏิบัติงานต้านการวัดและประเมินของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สิ่งพิมพ์ สกศ.

สุจริยา ขมสนิท, พงศ์เทพ จิระโร และเสกสรรค์ ทองคำบรรจง. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารนิสิตวัง. 25(1): 45-52.

อพันตรี พูลพุทธา, สมบัติ ท้ายเรือคำ และสุรวาท ทองบุ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(36): 69 – 82.

อัจศรา ประเสริฐสิน, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และอารีรัตน์ ลาวน้อย. (2564). แนวทางการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะในศตวรรษที่ 21. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 27(2): 16 -31.

Bedilu, L. (2023). Secondary school teachers’ competence in educational assessment of students in Bahir Dar town. Bahir Dar Journal of Education. 14(2): 54-63. [Online], เข้าถึงได้จาก:https://www.ajol.info/index.php/bdje/article/view/249060

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). Englewod cliffs: Prentice-Hall.

Ebel, R. L. (1978). Essential of Educational Measurment 3rd ed. Prentice-Hall.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis. (8th ed.). Upper Saddle River, Prentice Hall.

Kaiser, H. F. & Rice, J. (1974). Little Jiffy, Mark Iv. Educational and Psychological Measurement. 34(1): 111–117.

National Education Association (1990). Standards for teacher competence in educational assessment of students. Educational Measurement: Issues and Practice, 9(4): 30-32. [Online], เข้าถึงได้จาก: https://buros.org/standards-teacher-competence-ducational-assessment-students

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw–Hill.

Susan, M. B. (2011, 17 March). Educational Assessment Knowledge and Skills for Teachers. [Online], เข้าถึงได้จาก: https://doi.org/10.1111/j.1745-3992.2010.00195.xCitations

Tabachnick, B. G. & Fidell, L. S. (2012). Using multivariate statistics (6th ed). Pearson International Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-07-2024