การพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนตามอัตลักษณ์เขา ป่า นา เล จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด, การตลาดดิจิทัล, ผักเหนาะ, ขนมจีน, อัตลักษณ์ เขา ป่า นา เลบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนตามอัตลักษณ์ เขา ป่า นา เล จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ประเมินการรับรู้ผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนและความพึงพอใจการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนของผู้บริโภค งานวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ประกอบการร้านขนมจีนในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 11 ร้าน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคขนมจีน จำนวน 386 คน ใช้เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการสังเกตการณ์ และแบบสอบถามออนไลน์ ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามหรือ The Item Objective Congruence (IOC) มากกว่า 0.50 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ลงพื้นที่สัมภาษณ์/ สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้แบบสอบถามความต้องการผู้บริโภค ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนแบบผู้ประกอบการร้านขนมจีนมีส่วนร่วม และขั้นตอนที่ 3 การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ สอบถามผู้ประกอบการร้านขนมจีนและผู้บริโภค
ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้านขนมจีนแต่ละร้านได้ร่วมพัฒนาและสื่อสารคุณค่าของผักเหนาะของแต่ละโซนพื้นที่เขา ป่า นา เล ผ่านแพลตฟอร์มผักเหนาะขนมจีนออนไลน์ ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลกับป้ายสื่อสารสรรพคุณของผักเหนาะ นอกจากนี้ ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ยังมีการสื่อสารรูปแบบกิจกรรมเชิงการท่องเที่ยวเชิงอาหาร “กิน-เที่ยว-ธรรม” และภูมิปัญญาการรับประทานขนมจีนกับผักเหนาะ และ 2) การประเมินการรับรู้และความพึงพอใจการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ผักเหนาะขนมจีนเมืองคอนโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการ และผู้บริโภคขนมจีน พบว่า ผู้ประกอบการสะท้อนว่า ผู้บริโภครู้จักผักเหนาะและคุณค่าผักเหนาะเพิ่มมากขึ้น สนใจรับประทานผักเหนาะเพิ่มขึ้นจากการซักถามของผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกัน การจัดทำป้ายให้ข้อมูลที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ความรู้เรื่องผักเหนาะ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการรับรู้ครั้งนี้ สำหรับผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อแพลตฟอร์มการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผักเหนาะ อยู่ในระดับ ปานกลาง และเป็นข้อสังเกตว่า ผู้รับประทานผักเหนาะช่วงอายุน้อยจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ
References
Charungsutjaritkul, W., Na Nakorn, C. Jarapong, K. (2023). Studying the context and analyzing the production of community products from processed agricultural products According to the identity of Khao Pa Na Le, Nakhon Si Thammarat Province. Narkbhutparitat Journal. 15(3), 148-160.
Damsri, W. (2011). Muang Khon Rice Noodles in Fish Curry Sauce. Retrieved from http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/ขนมจีนเมืองนคร
Huanthanom, C., Saladkaew, N. & Chunwiphat. S. (2020). A development of new e-commerce platform for product preordering. The Journal of Industrial Technology. 16(1). 1-14.
Jariyapoom, T. & Subanjui, R. (2017). Food ordered online system developing. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP. 2(2), 6-15.
Marketing Promotion and Administration, Division Department of Internal Trade Ministry of Commerce. (2022). Hua-It Vetgetable Market]. Retrieved from https://mwsc.dit.go.th/viewCenterMarket.php?id=2061&page=1#.YrouynZBxPY
Ongwimonkarl, W. (2018). The development of digital commerce platform based on Togaf 9.1 enterprise architecture standard case study smart farm business. Master of Science in Information Technology, School of Information Technology, Sripatum University.
Rattanathari, A. (2019). Muang Khon rice noodles in fish curry sauce: A heavy breakfast that reflects the identity of "Muang Khon"]. Retrieved from https://adaymagazine.com/khanom-jeen-muang-nakhon
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กรกฎ จำเนียร, เมธาวี จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์, ศศิพัชร บุญขวัญ, นิภารัตน์ นักตรีพงศ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์