การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคป สำหรับชั้นเรียนคละอายุ โรงเรียนวัดท่า จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ สีตะบุษย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ศุภวรรณ์ เล็กวิไล วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์, แนวคิดไฮสโคป, ชั้นเรียนคละอายุ, พฤติกรรมทางสังคม, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมทางสังคมของ เด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 4-5 ปี และระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5-6 ปี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่จัดชั้นเรียนแบบคละอายุ โรงเรียนวัดท่าในจังหวัดชัยนาท จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ จำนวน 24 แผนซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 1.00 และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการร่วมมือ และด้านการแบ่งปัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 1.00 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที ในช่วงกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไค-สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ มีความสัมพันธ์กัน ทั้งโดยภาพรวมและจำแนกรายด้าน
2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปสำหรับชั้นเรียนคละอายุ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

กิติยา ไผ่แก้ว. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อความสามัคคีของเด็กปฐมวัยสถานสงเคราะห์เด็กมูลนิธิบ้านนกขมิ้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

กัลยารัตน์ ประเสริฐศรี. (2561). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบกลุ่มคละอายุที่มีต่อความสามารถ ในการเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ และพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านบุตาวงษ์ จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จารุวรรณ กำลังเหลือ. (2556). การพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยโดยการจัดการชั้นเรียนคละอายุ โรงเรียนบ้านห้วยหมากแดง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย: ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

มยุรี คนซื่อ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ต่อพัฒนาการด้านสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

โรงเรียนวัดท่า. (2564). รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนวัดท่า. ชัยนาท: โรงเรียนวัดท่า.

วรนาท รักสกุลไทย. (2554). “ไฮสโคป (High Scope) กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย” ในรวมวัตกรรมทฤษฎีการศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.

วสพร นิชรัตน์. (2558). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 10. (หน้าที่ 10-1 - 10-31). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-08-2024