แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ดวงพร นิลวงษ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, การพัฒนาการทำงานเป็นทีม, กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 วิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ จำนวน 95 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.98 และสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index: PNI Modified ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ศึกษาข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าดัชนีความสอดคล้องเครื่องมือ (Index of item Objective Congruence : IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ เท่ากับ 0.90
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียน อุดมธรรมคุณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ อันดับแรกคือ การมีส่วนร่วมในการทำงานของสมาชิก ประเด็นการตัดสินใจใด ๆ ควรใช้ข้อมูลและความคิดเห็นของครูทุกคน และ 3) แนวทางพัฒนา การทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนอุดมธรรมคุณ คือ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมดำเนินการ ซึ่งจะทำให้ครูเกิด การประสานงานและมีความรับผิดชอบร่วมกัน เสริมสร้างพลังในการทำงานและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน

References

กรชนก สุตะพาหะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15(29): 8-12.

กาญจนา ช้างเยาว์. (2561). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคม อำเภอเมืองระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (Master’s thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS).

จารุกัญญา โกพล. (2562). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนสหวิทยาเขตพระธาตุมหาชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (Master’s thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS).

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

วลัยพร ลามพัฒน์. (2564). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 (Master’s thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565. สืบค้นจาก http://www.suphan1.go.th./suphan1/images/2jantararat/phan

อภิชัย เพ็งกรูด. (2565). แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทมีของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในโรงเรียนสงักัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง (Master’s thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024