การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐกริษฐา โกพิมาย หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปริญญา ทองสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมศิริ สิงห์ลพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปานเพชร ร่มไทร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, แนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์, แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี และ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียนในราย วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอน มีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.50, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.55 แผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.30, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.80 และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษได้ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.45 - 0.64 เป็นแบบทดสอบที่มีความยากปานกลาง ได้ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.22 - 0.77 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดปละประเมินผล และ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นประมวลความคิดและค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปราย สรุปผล และขั้นที่ 5 ขั้นวัดและประเมินผล 2) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2554-2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กันตาภา สุทธิอาจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ทรัพสิริ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2564). การจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์ตามสภาพจริงตามรูปแบบกิจกรรมประสบการณ์. วารสารธรรมศาสตร์. 40(2): 116-129.

ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ ชาวปากน้ำ. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นนครปฐมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัทวรรณ วัฒนไชย. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันวิดา กิจเจา. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2558). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จํากัด.

สิปปนนท์ ละครขวา. (2563). ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่าน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เอกภพ ไชยยา. (2555). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูน เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฮามีนะ โซ๊ะสะตา. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งเน้นประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) ที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่ได้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles. (2nd ed.). Maidenhead, UK.

Kolb, D. A.. (1984). Experience learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024