แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ความต้องการจำเป็น, หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ ความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 192 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณดัชนีความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNI modified และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม และความต้องการจําเป็นสูงสุดคือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม (PNI modified= 0.70) และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ได้แก่ 1) การส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม 2) การมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง 3) การสร้างบรรยากาศองค์กรแห่งนวัตกรรม 4) การมีความคิดสร้างสรรค์ และ 5) การบริหารความเสี่ยง
References
กุลชลี จงเจริญ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. ประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำหน่วยที่ 12, 2(1): 11-16. สืบค้นจาก https://opac01.stou.ac.th
ซานีรา สุมาลี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. (Master’s thesis). สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org
ณัฏฐนิชา หามนตรี และพรเทพ รู้แผน. (2565). แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(4): 348-350. สืบค้นจาก https://so02. tci-thaijo.org
ณิชาภา สุนทรไชย, เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ, ประยุทธ ชูสอน. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา. 5(1): 67-76. สืบค้นจาก https://tci-thaijo.org
นันทนา หนูนุรัตน์. (2565). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนกลุ่มอำเภอบางปลาม้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (Master’s thesis). สืบค้นจาก https://rsuir-library.rsu.ac.th
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. (Master’s thesis). สืบค้นจาก https://cmudc.library.cmu.ac.th
ยินดี ฮานาฟี. (2562). แนวทางการส่งเสริมการมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครูโรงเรียนสามโคกสังกัดองค์กรบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. (Master’s thesis). สืบค้นจาก https://dric. nrct.go.th
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565. สืบค้นจาก http://www.suphan1.go.th
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2566). นวัตกรรมทางการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.nia.or.th
Best, B. M. (1981). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology Testing. (4th ed.). New York: Harper and Row.
Phayat, W. (2012). Innovative management from concept to excellence. Bangkok: Chulalongkorn University. 2(2): 13-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ปวิชญา กันทะเนตร, ชัชชญา พีระธรณิศร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์