ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การ กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด
คำสำคัญ:
การสื่อสารองค์การ, พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การ, ความพึงพอใจในงานบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด 2) ความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด และ 3) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มพนักงานบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด เพศชายและเพศหญิง ที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด จำนวน 145 คน ใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ 0.89 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกัน เป็นพฤติกรรมการสื่อสาร ภายในองค์การที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเพื่อนร่วมงานมีการรับฟังปัญหา ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน 2) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า สภาพการทำงานจัดเป็นความพึงพอใจในงานมากที่สุด เนื่องจากองค์การ มีบรรยากาศภายในการทำงานที่ดี สถานที่สวยงาม สะอาดตา และ 3) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัท ธนบุรี เวลบีอิ้ง จำกัด (r = .721) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
กษิณภัทร เศรษฐอุปการ และอัมพน ห่อนาค. (2566). การสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โฮง สิน สาน คอนสตรัคชั่น จำกัด. Journal of Modern Learning Development. 8(3): 178-188.
ไชเยศ ชนะกุล. (2558). รูปแบบการสื่อสารภายใน ความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณิชมน กิติเวชโภคาวัฒน์. (2564). การสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของกลุ่มคนแต่ละ Generation ของพนักงานบริษัทส่งออกอาหารแห่งหนึ่งในเขตบางรัก. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเลิศ (หัวหมาก).
ดวงใจ ธีรไกรศรี และกฤช จรินโท. (2556). การสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อบรรยากาศองค์กรและความพึงพอใจในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ. สยามวิชาการ. 14(1): 73-89.
ธร สุนทรายุทธ. (2553). หลักการและทฤษฎีทางบริหารการศึกษา. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีร ชัยสุทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อการสื่อสารและประสิทธิผลของการสื่อสารภายในองค์กร ของผู้ปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปภณวิชษ์ พานุรัตน์. (2554). การพัฒนาแบบประเมินความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิพัฒน์ มีเถื่อน. (2562). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ฮันนี่ เวลล์ อิเล็คทรอนิค แมธิเรียลส์ (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.
ภูดิศ สุชาติพงศ์. (2562). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ดับเพลิงวิศวกรรมแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีต่อการเติบโตขององค์กรในมิติของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยศนันท์ อ่อนสันทัด. (2560). ความพึงพอใจและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุชาดา ภาคพูล. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในสายงานฝ่ายการผลิต ระดับการปฏิบัติการ กรณีศึกษากรมอู่ทหารเรือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุธานิธิ์ นุกูลอึ้งอารี. (2555). การศึกษาความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)กรณีพนักงานบริษัท การบินไทยฯ สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2560). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อุมาภรณ์ จันทร์จุฬา และ จรัญญา ปานเจริญ. (2562). อิทธิพลของปัจจัยบรรยากาศภายในองค์การและกระบวนการสื่อสารภายในองค์การที่มีต่อประสิทธิผลในการสื่อสารภายในองค์การของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 33(107): 237-250.
Cohen, J. (1998). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M. & Sarstedt, M. (2017). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). (2nd ed.). Sage Publications.
Luna-Arocas, R., & Camps, J. (2008). A model of high performance work practices and turnover intentions. Personnel Review. 37(1): 26-30.
Novabizz. (2022). ความพอใจในงาน (Job Satisfaction). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/job-satisfaction.htm. (2567, 13 มกราคม).
Ober, S. (2009). Contemporary Business Communication. (7th ed.). Houghton Mifflin Harcourt.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สุวิตา ขันทอง, พรพรหม ชมงาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์