การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP

ผู้แต่ง

  • พิริยะ ปิยะรัตน์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สมวงษ์ แปลงประสพโชค คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พรสิน สุภวาลย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ฟังก์ชันกำลังสอง, การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA, โปรแกรม GSP

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้อง รวม 65 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง รวม 32 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ตอนที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.85 และแบบทดสอบตอนที่ 2 แบบอัตนัย โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีการของ ครอนบาค เท่ากับ 0.80 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ Paired - Sample t-test และ One-Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้ เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โชคอนันต์ งอยผาลา. (2557). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2542). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.

พรพิทักษ์ หมู่หัวนา. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วาสนา ดอนศิลา. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สันติ อิทธิพลนาวากุล. (2550). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวน โดยใช้โปรแกรม GSP (The Geometer's Sketchpad) เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

July, R. A. (2001). Thinking in Three Dimensions : Exploring Students’ Geometric Thinking and Spatial Ability with the Geometer’s Sketchpad. Unpublished doctorial thesis, Florida International University.

Moore, N. M. (2005). Constructivism using group work and the impact on self-efficacy, Intrinsic motivation, and group work skills on middle-school mathematics students. Doctoral dissertation, Psychology, Capella University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024