การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต
คำสำคัญ:
แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์, การสะท้อนคิดตามหลักหลักพุทธธรรม, ทักษะการคิดขั้นสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับ การสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต และ 3) ประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 54 รูป/คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามร่างรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 2) แบบประเมินระบบจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 3) แบบประเมินผลชิ้นงานแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.975 4) แบบประเมินทักษะการคิดขั้นสูง ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.876 และ 5) แบบประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามและองค์ประกอบของรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิตที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย (1) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ (2) ระบบจัดการแฟ้ม โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหา การเก็บรวบรวมผลงาน กิจกรรมส่งเสริมการสะท้อนคิดตามหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง และการติดตามประเมินผล (3) ขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implement) และการประเมินผลการใช้ (Evaluation) และระบบจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพโดยรวมในระดับมาก (4.13) 2) คุณภาพผลงานแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่นักศึกษาสร้างขึ้น ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 75.93 และผลคะแนนทักษะการคิดขั้นสูง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.08) 3) ผลการประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมาก (4.49) และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด (4.52)
References
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2540). การพัฒนาคุณภาพการคิด. วารสารการวัดผลการศึกษา. 18(54): 1-20.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ.2562. (2562, 6 มีนาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 7-8.
พระอธิการพรนารายณ์ กิตฺติคุโณ (ปานบุตร). (2564). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. วารสารวิจยวิชาการ. 4(3): 325-336.
Abrouq, N. (2024). Reflective Thinking: from Opacity to Clarity. British Journal of Teacher Education and Pedagogy. 3(1): 87-96.
Adeoye, M. A., Wirawan, K. A. S. I., Pradnyani, M. S. S., & Septiarini, N. I. (2024). Revolutionizing Education: Unleashing the Power of the ADDIE Model for Effective Teaching and Learning. JPI (Journal Pendidikan Indonesia). 13(1): 202- 209.
Arifin, M. H. (2021, February). Development of electronic portfolios and self-asessment based on high order thinking skills in Pancasila and Citizenship Learning at students of Al-Islam Bandung Polytechnic. Journal of Physics: Conference Series. 1764(1): 1-4.
Ciesielkiewicz, M. (2019). The use of e-portfolios in higher education: From the students' perspective. Issues in Educational Research. 29(3): 649-667.
Faravani, A., & Atai, M. R. (2015). Multiple intelligences, dialogic-based portfolio assessment, and the enhancement of higher order thinking. Teaching English as a Second Language Quarterly (Formerly Journal of Teaching Language Skills). 33(4): 19-44.
Feng, Z., & Tur, G. (2023). Collaborative e-portfolios use in higher education during the COVID-19 pandemic: A co-design strategy. International Journal of Educational Methodology. 9(3): 585-601.
Hapsari, A. G. S., & Kuswandono, P. (2020). Designing problem-based learning through narrative stories for microteaching class using ADDIE model. JEELS (Journal of English Education and Linguistics Studies). 7(2): 187-217.
Hj. Ebil, S., Salleh, S. M., & Shahrill, M. (2020). The use of E-portfolio for self-reflection to promote learning: A case of TVET students. Education and Information Technologies. 25(6): 5797-5814.
Kristiani, K., & Sulistyaningrum, C. D. (2024). Development of hots-based cognitive assessment instruments: ADDIE model. Journal of Education and Learning (EduLearn). 18(2): 489-498.
Kurniawan, R., & Khukmi, K. (2023). Digital Portfolio Assesment: A Self-Reflection Way for Teachers and Special Need Students. Journal of ICSAR. 7(2). 230-240.
Lam, R. (2022). E-Portfolios for self-regulated and co-regulated learning: A review. Frontiers in Psychology. 13(1): 01-08.
Liping, Q., Hassan, S. A. A., & Yiping, X. (2023). The Impact of E-Portfolio Assessment Implementation on Polytechnic Students’ Speaking Proficiency and Self-Reflection on Learning Business English. Tell: Teaching of English Language and Literature Journal. 11(2): 124-133.
Lukitasari, M., Handhika, J., & Murtafiah, W. (2018, March). Higher order thinking skills: Using e-portfolio in project-based learning. In Journal of Physics: Conference Series IOP Publishing. 983(1): 1-6.
Meihami, H., & Malmir, A. (2024). Student-teachers’ professional agency development through ADDIE model of CALL teacher preparation. Language Teaching Research. [Available: Sage Journal] Item: 13621688241254907. (2024, 3 July).
Puspitasari, A. I., Putra, B. A. W., & Wahjuningsih, E. (2024). The Effect of Using Digital Storytelling on Students' Listening Comprehension. EFL Education Journal. 11(1): 115-126.
Salman, F., & Şenel, E. (2024) Reflective and critical thinking as determinants of academic achievement: A study in physical education and sport teacher candidates. International Journal of Sport Culture and Science. 12(2): 212-233.
Sinensis, A. R., & Firdaus, T. (2023). Reflective Thinking Profile of Physics Teacher Prospective Students through Nuclear Physics Learning using Virtual Laboratory. Islamic Journal of Integrated Science Education (IJISE). 2(2): 81-90.
Soonhee, H., & Keumjin, C. (2023). Effects of learning portfolios in general education courses on undergraduates' self-regulated learning abilities, ego-resilience, and self-directed learning readiness. Korean Journal of General Education. 17(5): 161-183.
Soto-González, M. D., Rodríguez-López, R., & Renovell-Rico, S. (2023). Transdisciplinarity and Reflective and Creative Thinking through Art in Teacher Training. Education Sciences. 13(10): 1-12.
Weerakoon, C. (2023). Exploring the synergy of digital competence and photo-driven reflection: A pilot study on reflective thinking skill development in business education. Cogent Education. 10(2): 1-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 พรทิวา ชนะโยธา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์