อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
คำสำคัญ:
ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์, ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ, การยอมรับเทคโนโลยี, งานตรวจสอบรายงานการเงินบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการใช้ระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) ในการกำหนดกรอบในการศึกษาวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ (ข้าราชการในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์) จำนวน 474 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบที t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และประสบการณ์ทำงานด้านงานสอบบัญชีที่แตกต่างกัน จะมีการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานแตกต่างกัน การทดสอบความสัมพันธ์พบว่าการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานมีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับทัศนคติที่มีต่อการใช้โดยผ่านการรับรู้ถึงประโยชน์ นอกจากนี้การรับรู้ถึงประโยชน์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้โดยผ่านทัศนคติที่มีต่อการใช้ อย่างไรก็ตามพบว่า พฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานระบบกระดาษ ทำการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานตรวจสอบรายงานการเงินของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
References
จุไรรัตน์ เทพบุรี. (2560). การพัฒนาผู้สอบบัญชีสู่มาตรฐานการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี (TSQC1) ด้วยระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Working Paper : EWP). สืบค้นจาก https://www.cad.cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=36848. (2565, 6 มีนาคม).
พรพิมล นาถประดิษฐ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรศรี ลีลาพัฒนวงศ์ และทิพวรรณ ปิ่นวนิชย์กุล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี: กรณีศึกษายานยนต์ไฟฟ้าประเภทยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1). วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 42(2): 129-144.
ภานุกร เตชะชุณหกิจ และศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2562). อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์. ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยุวกรณ์ คำชมภู. (2564). การรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LASS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน. ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิภัทร เลิศภูรีวงศ์. (2564). ปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยี ทัศนคติ และอิทธิพลทางสังคมทำนายความตั้งใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่นโรงพยาบาลภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
โอบนิธิ วชิรานุวงศ์. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code). ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of two Theoretical Models. Management Science, 35(8): 982-1002.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 รุ่งทิวา โตกระจ่าง, ศฐา วรุณกูล, ดลยา ไชยวงศ์, กุลชญา แว่นแก้ว
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์