การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค THINK - PAIR - SHARE ที่เสริมสร้างความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
เทคนิค Think – Pair – Share, ข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ ทางคณิตศาสตร์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตอยู่ระหว่าง 4.00 - 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.00 - 0.49 เครื่องมือสำหรับการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบย่อยวัดความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.44 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.85 และค่าความเชื่อมั่นในแต่ละฉบับเท่ากับ 0.68, 0.73 และ 0.74 ตามลำดับ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ 1 ฉบับ ซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 - 0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share พบว่า ทุกข้อมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 จากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 มีจำนวน 26 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 72.22 และจากการวิเคราะห์แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในแต่ละด้านพบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.36 และด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.44 ซึ่งทั้ง 3 ด้าน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ Z-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05 พบว่า z_c > 1.645 จึงทำการปฏิเสธ H_0 สรุปได้ว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share ที่เสริมสร้างความสามารถในการสร้างข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนผลการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ผลการวิจัยพบว่า มีจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และจากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Think - Pair - Share พบว่า มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ซึ่งอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
กิตติ พัฒนตระกูลสุข. (2546). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาของประเทศไทยล้มเหลวจริงหรือ. วารสารคณิตศาสตร์. 46(530-532): 54-58.
ธัญญา แนวดง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค Think - Pair - Share ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัฐธิดา มุสิกชาติ. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es) ร่วมกับเทคนิค Think - Pair - Share ที่มีต่อความามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (Vol. 7). สุวีริยาสาส์น.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำราญ ไผ่นวล. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในวิธีสอนชาสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการเรียนแบบร่วมมือกิจกรรมแบบเพื่อนคู่คิด. การวิจัยในชั้นเรียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
อุษา ภิรมย์รักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Basra, M. & Fauzi, K. M. A. (2017). An Analysis of Students’ Mathematical Reasoning Ability Using Metacognitive Strategy Based-learning in Malay Culture among Junior Hihh School Students. Journal of Mathematics Education and Practice. 8(21): 87-92.
Bragg, L.A. and Herbert, S. (2018). “What Can Be Learned from Teachers Assessing Mathematical Reasoning: A Case Study”. In Hunter, J., Perger, P., & Darragh, L. (Eds). Proceedings of the 41st Annual Conference of The Mathematics Education Research Group of Australasia: 178-185.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 พรรณพร เฉลยจิตร์, เสริมศรี ไทยแท้, ธีรศักดิ์ ฉลาดการณ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์