หลักการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็น ของประชาชนต่อการบริหารจัดการที่ดี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 93,846 คน โดยคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที และการทดสอบเอฟ เมื่อพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนมีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาธิบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านคุณธรรม สูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่ต่ำที่สุด คือ ด้านหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ต่างกัน พบว่า เพศ อายุ ระดับรายได้ การศึกษา อาชีพ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์