การวิเคราะห์ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ธีระญา ปราบปราม

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัญหาการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ชั้นปีที่ 1 และศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่มีความสัมพันธ์กับการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปุทมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิติศาสตร์ จำนวน 17 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวัด 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ระดับของปัญหาการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ด้านการเรียน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.29, S.D. = 0.64) โดยที่มีปัญหาด้านการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัญหาด้านการบริการทางกายภาพที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา ปัญหาด้านการบริการแนะแนวและการให้คำปรึกษา ส่วนปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (x = 3.37, S.D. = 0.61) นี้มีปัญหามากที่สุดคือ  ด้านเนื้อหารายวิชา รองลงมาได้แก่ ด้านหลักสูตร และด้านการประเมินผล

          2. สภาพปัญหาด้านการเรียนที่มีผลต่อปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิติศาสตร์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกแต่ไม่มีนัยสำคัญ (r = 0.18, Sig. = 0.39) โดยที่ด้านการบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ด้านการจัดโครงการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่นักศึกษามีความสัมพันธ์กับด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านเนื้อหารายวิชา ด้านกระบวนการวิธีการสอนและประเมินผลรายวิชา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผล อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 

Downloads

Published

2014-12-01

How to Cite

ปราบปราม ธ. (2014). การวิเคราะห์ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. Valaya Alongkorn Review, 4(2), 101–114. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/30291

Issue

Section

Academic Article