สังคมไทยกับหนังสือสำหรับเด็ก: แสงสว่างที่พรางตา? มุมมองและความคิดเห็นบางประการ

ผู้แต่ง

  • เจด็จ คชฤทธิ์

บทคัดย่อ

หนังสือสำหรับเด็กในสังคมไทย มีแนวโน้มพัฒนาไปทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ กระบวนการผลิต การส่งเสริมให้รางวัลแก่นักเขียน และการประกาศยกย่องหนังสือที่ดีมีคุณภาพ แต่ถึงกระนั้น สังคมไทยยังขาดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการพัฒนาหนังสือสำหรับเด็กที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ตลาดหนังสือสำหรับเด็กกระแสหลักยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศตะวันตกและบางประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่เชื่อมทุกประเทศเข้าหากัน เป็นที่น่าสังเกตว่าหลายฝ่ายต่างผลักดันและสนับสนุน ให้เด็กได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากขึ้น แต่เนื่องจากวัฒนธรรมการอ่าน สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และกลไกตลาด ยังไม่เอื้ออำนวย กอปรกับหนังสือสำหรับเด็กที่ดีนั้นมีต้นทุนสูง ทำให้หนังสือสำหรับเด็กแพร่หลายอยู่ในวงจำกัด ทั้งยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีก เช่น การตัดสินใจซื้อหนังสืออยู่ที่ผู้ปกครอง ทำให้หนังสือไม่ตรงกับความต้องการของเด็ก สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์เฉพาะหนังสือสำหรับเด็กมีน้อย นักเขียนหรือผู้สร้างสรรค์มีน้อย ผู้วาดภาพยังไม่มีประสบการณ์หรือจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็กส่งผลให้ภาพไม่สื่อความหมายเท่าที่ควร และการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้หนังสือสำหรับเด็กจึงเป็นดุจแสงสว่างที่ยังไม่สามารถสาดส่องไปได้อย่างทั่วถึง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-12-2014

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ