การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง 2 เพื่อศึกษาประสิทธิผล ประสิทธิภาพการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง และ 3 เพื่อเสนอแนวทางในการการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 185 คน โดยผู้วิจัยทำการเลือกแบบเจาะจงและแบบก้อนหิมะควบคู่กัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.93 และ 0.97 การวิเคราะหขอมูลโดยการหาค่าความถี่และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1 สภาพปัญหาการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับน้อยซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ 1.1 ด้านที่มีอุปสรรคหรือความยากลำบากมาก ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการจัดเก็บขยะมูลฝอย 1.2 ด้านที่มีอุปสรรคหรือความยากลำบากปานกลาง ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการลดและใช้ประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้านการจัดการขยะของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ปฎิบัติการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 1.3 ด้านที่มีอุปสรรคหรือความยากลำบากน้อย ได้แก่ ด้านสภาพปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการกำจัดขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ด้านกระบวนการจัดการเกี่ยวกับระบบการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ด้านทรัพยากรที่จำเป็นเกี่ยวกับสิ่งที่อำนวยความสะดวกที่ใช้ในการจัดการขยะ และด้านนโยบายเกี่ยวกับหลักและวิธีการปฏิบัติของแนวทางดำเนินงานด้านการจัดการขยะ
2 ประสิทธิผล ประสิทธิภาพการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง พบว่า การประเมินด้านประสิทธิผลเกี่ยวกับการไม่มีขยะตกค้างในแต่ละวันบริเวณจุดทิ้งขยะตามอาคารและพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 88 และบริเวณจุดทิ้งขยะรวมของมหาวิทยาลัยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 80 ส่วนการประเมินด้านประสิทธิภาพเกี่ยวกับการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเพื่อไม่ให้มีขยะตกค้างในแต่ละวันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 13 ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินงานด้านการกำจัดขยะจะประกอบด้วยแม่บ้าน ผู้ประกอบการร้านอาหาร พนักงานเก็บขยะ และเทศบาล โดยขยะแต่ละประเภทจะมีกระบวนการจัดการที่แตกต่างกันไป
3 แนวทางในการการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง พบว่า มหาวิทยาลัยควรมีการจัดกิจกรรมหรือดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง การสร้างจิตสำนึกหรือความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการขยะของทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากขยะ การจัดระเบียบหรือภูมิทัศน์บริเวณจุดทิ้งขยะรวมให้สวยงาม การมุ่งเน้นการพัฒนามหาวิทยาลัยฯให้เป็นแหล่งนำร่องหรือแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการบริหารจัดการขยะที่ดีของชุมชนท้องถิ่น การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานเก็บขยะกรณีที่มีการจัดงานเลี้ยงในช่วงกลางคืนหรือช่วงวันที่การจัดตลาดนัด รวมถึงการประสานงานหรือทำหนังสืออย่างเป็นทางการถึงเทศบาลเพื่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
The purposes of this research were 1 to study problems about solid waste management of Rajabhat University in the central region 2 to study effectiveness and efficiency about solid waste management of Rajabhat University in the central region and 3 to proposed guidelines about solid waste management of Rajabhat University in the central region. Samples were those related about solid waste management of Rajabhat University in the central region of five include Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage ,Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University ,Thepsatri Rajabhat University ,Rajabhat Rajanagarindra University and Rambhai Barni Rajabhat University total 185 people were selected purposive sampling and snowball sampling. Tools applied for collected the data were interview form and observation form with the item objective congruence was 0.93 and 0.97. The data analyzed by frequency and content Analysis.
The research findings were:
1 Problems about solid waste management of Rajabhat University in the central region overall low level which can be divided into 3 kind 1.1 the difficulties or obstacles was in the high level Include the processes of collection about solid waste. 1.2 the difficulties or obstacles was in the moderate level Include the process about reducing and utilization and the participation about solid waste management of executives ,officers and stakeholders. and 1.3 the difficulties or obstacles was in the low Level Include the problems of management about compostable waste ,recyclable waste ,hazardous waste and general waste ,the process of management about solid waste and sewage ,the facilitate resources about solid waste management and the policy of concept and practices about solid waste management.
2 Effectiveness and efficiency about solid waste management of Rajabhat University in the central region were evaluating the effectiveness about no residual solid waste each day of building and university space an average of 88 percent and area landfill of the university an average of 80 percent. To evaluating the efficiency about cost management of no residual solid waste each day an average of 13 percent. The elements of process about solid waste management consists housewives ,canteen ,solid waste collection employees and municipality. Which solid waste management each with a different.
3 Guidelines about solid waste management of Rajabhat University in the central region were university should be organized or operated on solid waste management continues ,action on the creation of consciousness or awareness about solid waste management of sector was substantial ,waste management from starting to end of the line ,action on creating more revenue from solid waste ,organize about beautifu landscaped in landfill area ,focusing on the development of the university as a pilot or learning about good solid waste separation and solid waste management of the local community ,pay special for solid waste collection employees in case that work at night or flee market Include coordination or an official letter about solution to the municipality.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์