Publication Ethics
ประกาศกองบรรณาธิการ
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เรื่อง จริยธรรมและจรรยาบรรณประจำกองบรรณาธิการ
------------------------
นโยบายการจัดทำวารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานบทความวิจัยบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แก่นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปอีกทั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านวิชาการ และองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ แต่เดิมผู้รับผิดชอบ คือ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้ชื่อว่า “วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” เริ่มดำเนินการจัดทำและพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และในปี พ.ศ. 2562 วารสารวิจัยและพัฒนาฯ ได้ถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย(TCI) กลุ่มที่ 3
ในปี พ.ศ. 2563 วารสารฯ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 คณะมนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เสนอต่อที่ประชุมมหาวิทยาลัยในการรับผิดชอบดำเนินงานปรับปรุงรูปแบบการตีพิมพ์ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการในการศึกษาหาความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับนักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจโดยทั่วไปที่มีความประสงค์จะเสนอต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ฯ สามารถส่งบทความดังกล่าวมายังกองบรรณาธิการได้โดยตรงผ่านระบบการจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ThaiJO ทั้งนี้บทความที่เสนอตีพิมพ์จะต้องไม่เคยหรืออยู่ในระหว่างขอเสนอตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน ซึ่งบทความที่เสนอเข้ามายังกองบรรณาธิการและผ่านการพิจารณาในเบื้องต้นแล้วนั้น จะได้รับการประเมินคุณภาพพร้อมได้รับความเห็นชอบให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ประจำวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อย่างน้อย 2 ท่าน ก่อนอนุมัติตีพิมพ์เผยแพร่ (ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป)
บ ทความใด ๆ ที่ได้รับการพิจารณาให้เผยแพร่ในวารสารถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสม โดยเนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสาร
เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือนักวิจัยผู้เขียนบทความ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคทางการพิมพ์
จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)
1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ จักดำเนินการพิจารณาบทความในเบื้องต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการของวารสาร
โดยพิจารณาจากคุณภาพของเนื้อหา มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร ผ่านการตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการ และพิจารณารับตีพิมพ์บทความด้วยความโปร่งใส ปราศจากอคติ รวมทั้งมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน
2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสาร เป็นผู้พิจารณากำหนดและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามศาสตร์ของบทความนั้น ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่สังกัดหน่วยงานเดียวกับผู้นิพนธ์โดยกระบวนการพิจารณาคุณภาพบทความของวารสารเป็นการพิจารณาแบบปกปิดเป็นความลับทั้งสองฝ่าย (double-blind) ไม่เปิดเผยรายชื่อผู้นิพนธ์ ผู้ร่วม และผู้พิจารณาบทความเพื่อป้องกันอคติที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) กับผู้นิพนธ์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลอื่น ๆ หรือในกระบวนการพิจารณาบทความไม่ว่าจะเป็นในด้านใด รวมถึงไม่กระทำพฤติกรรมที่ให้ได้มาซึ่งสิ่งตอบแทนอื่นใดต่อบรรณาธิการ
4. เมื่อผู้นิพนธ์ส่งบทความเข้ามาในระบบวารสาร หากกองบรรณาธิการตรวจพบว่ามีการคัดลอกบทความหรือตีพิมพ์ซ้ำ หรือมีความคล้ายจนเห็นได้ว่าเลียนแบบผลงานวิชาการอื่น ๆ สามารถปฏิเสธการตีพิมพ์บทความในทันที
หากบทความมีความคล้ายบางส่วน บรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ปรับแก้ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป
5. บรรณาธิการสงวนไว้ซึ่งสิทธิ์ในการถอดถอนบทความ ในกรณีที่มีการตรวจพบว่ามีการกระทำผิดจริยธรรมไม่ว่ากรณีใด ให้บรรณาธิการมีสิทธิ์ถอดถอนหรือยกเลิกบทความ
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)
1. ผู้ทรงคุณวุฒิปฏิบัติหน้าที่ในการประเมินคุณภาพบทความอย่างเต็มกำลังความสามารถและให้ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการต่อผู้นิพนธ์
2. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องพิจารณาบทความที่ได้รับจากบรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการถึงความเชี่ยวชาญของตนกับเนื้อหา
ในบทความ หากเห็นว่าบทความที่ได้รับมอบหมาย มีเนื้อหาไม่ตรงตามความเชี่ยวชาญของตน ต้องแจ้งกองบรรณาธิการวารสารให้รับทราบและปฏิเสธการประเมินโดยเร็ว
3. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องรักษาความลับของบทความที่ปฏิบัติหน้าที่ประเมินคุณภาพอยู่ในขณะนั้นหรือบทความที่ได้ประเมินคุณภาพมาก่อน โดยไม่นำข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนออกเผยแพร่สู่สาธารณะ
จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)
1. ผู้นิพนธ์ หรือผู้นิพนธ์ร่วม มีสถานะเป็นเจ้าของบทความ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผลงานของตนเองและไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
2. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้น ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน รวมถึงบทความที่ส่งมานั้นต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ ในช่องทางอื่นใดในคราวเดียวกัน
3. ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบที่วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดขึ้นมาอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน
4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานทางวิชาการของผู้อื่นให้ถูกต้องและครบถ้วน หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตนเอง ต้องระบุและจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความให้ถูกต้องตามหลักวิชาการตามที่วารสารกำหนดรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA
5. ผู้นิพนธ์ต้องระมัดระวังในการใช้ภาษาที่เขียนบทความ โดยตรวจสอบความถูกต้องตามหลักภาษา
6. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับขั้นตอนในการดำเนินงานของกองบรรณาธิการ อย่างเคร่งครัด
7. ผู้นิพนธ์ต้องติดต่อกองบรรณาธิการด้วยความสุภาพในทุกช่องทาง
การอ่านประเมินต้นฉบับ (Peer Review Process)
บทความต้นฉบับทุกบทความที่เสนอเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาเผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะได้รับการพิจารณาตามกระบวนการ ดังนี้
1. พิจารณารูปแบบการเขียน และเนื้อหาเบื้องต้น โดยเจ้าหน้าที่ประจำวารสาร หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยบรรณาธิการ
2. เมื่อผ่านกระบวนการข้อที่ 1 เจ้าหน้าที่ประจำวารสารจะเสนอต่อคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองคุณภาพเบื้องต้นเพื่อพิจารณาตามความเชี่ยวชาญของศาสตร์นั้น ๆ หากมีข้อบกพร่องในด้านต่าง ๆ ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนที่จะเสนอในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้หากผ่านการพิจารณาจักต้องดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ ตามอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความในวารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
3. คณะกรรมการกลั่นกรองคุณภาพเบื้องต้น เสนอผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญตามศาสตร์นั้น ๆ จำนวน 2-3 ท่าน ซึ่งพิจารณาตามความเหมาะสมทั้งในด้านคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญเป็นหลักกรณีผู้นิพนธ์เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จักได้รับการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 1 ท่าน แต่ไม่เกิน 2 ท่าน หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย 3 ท่าน หากผู้นิพนธ์มรสถานะเป็นบุคคลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จักได้รับการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น ทั้งนี้ต้องดำเนินการด้วยกระบวนการเสนอผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองฝ่าย (double-blinded)
การแก้ไขบทความ (Article editing)
บทความทุกฉบับ เมื่อผ่านการพิจารณาประเมินคุณภาพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิครบทุกท่านเรียบร้อยแล้วต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้นิพนธ์ เมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากกระบวนการประเมินคุณภาพบทความแล้วนั้น จะต้องดำเนินการปรับแก้บทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านได้ให้ข้อเสนอแนะไว้อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขในรายละเอียดใด ผู้นิพนธ์ต้องชี้แจงผ่านแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ เพื่อให้กองบรรณาธิการได้พิจารณาตามความเหมาะสม
2. ผู้นิพนธ์ จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้านการเผยแพร่อย่างเคร่งครัด โดยดำเนินการปรับปรุงแก้ไขบทความอย่างระมัดระวังในด้านต่าง ๆ อาทิ ความถูกต้องตามหลักภาษา และการอ้างอิง
3. หากผู้นิพนธ์ มิได้ปฏิบัติตามข้อ 1 และ ข้อ 2 อาจไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้เผยแพร่
การชำระค่าธรรมเนียม (Payment of charges)
1. วารสารกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความในวารสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
2. วารสารไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมโดยโอนชำระเข้าบัญชีธนาคารอื่นใดที่มิใช่ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ผู้นิพนธ์จะได้รับหนังสือเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเท่านั้น
3. วารสารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เพื่อให้ได้มาซึ่งกระบวนการ วิธีการ หรือสิทธิพิเศษอื่นใด
ที่ขัดต่อประกาศจริยธรรมนี้ หรือขัดต่อประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความในวารสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
4. กองบรรณาธิการวารสารมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ช่วยบรรณาธิการเป็นผู้ประสานงานในทุกขั้นตอน
กำหนดออกเผยแพร่ (Publication Frequency)
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม
บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อฉบับอยู่ในระหว่าง 18-20 เรื่อง ทั้งนี้กองบรรณาธิการจะพิจารณาตามความเหมาะสม
- เศรษฐศาสตร์
- บริหารธุรกิจ
- และการจัดการ
- ครุศาสตร์
- ศึกษาศาสตร์
- จิตวิทยา
- สังคมวิทยา
- นิติศาสตร์
- รัฐศาสตร์
- รัฐประศาสนศาสตร์
- นิเทศศาสตร์
- สื่อสารมวลชน
- มานุษยวิทยา
- โบราณคดี
- ประชากรศาสตร์
- อักษรศาสตร์
- สารสนเทศศาสตร์
- ศิลปศาสตร์
- บทความเชิงพื้นที่
- หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อประสานงานได้ที่
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชั้น 1 อาคาร 8 ปณจ.ประตูน้ำพระอินทร์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180
โทรศัพท์/โทรสาร 02 529 3914 ต่อ 12
E-mail: huso_published@vru.ac.th
institute website: http://huso.vru.ac.th/