ปัจจัยและแนวทางป้องกันการหนีภาษีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการหนีภาษีอากรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) รูปแบบพฤติกรรมการหนีภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 3) แนวทางป้องกันการหนีภาษีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ที่มีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก คือ ผู้จัดการบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 330 บริษัท และกลุ่มตัวอย่างที่สอง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานและประกอบวิชาชีพด้านบัญชีและภาษีอากร จำนวน 8 ท่าน การวิจัยเชิงปริมาณใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการหนีภาษีส่วน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานด้านบัญชีและภาษีอากร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความเป็นธรรมของระบบภาษี 2) การบังคับใช้กฎหมายภาษี 3) การบริหารจัดการภาครัฐ 4) ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษี และ 5) จรรยาบรรณของผู้เสียภาษีทุกปัจจัยส่งผลต่อการหนีภาษีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ารูปแบบพฤติกรรมการหนีภาษีที่บริษัทฯ ใช้มากที่สุด ได้แก่ การแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วน การทำนิติกรรมเท็จ การตั้งบริษัทย่อยและบริษัทในเครือในดินแดนเลี่ยงภาษีและ การสร้างค่าใช้จ่ายเท็จตามลำดับ และพบแนวทางการป้องกันการหนีภาษีที่สำคัญ ได้แก่ 1) รัฐบาลต้องแยกกรมสรรพากรเป็นองค์กรอิสระ 2) รัฐบาลต้องยกเลิกมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมด 3) รัฐบาลต้องบัญญัติกฎหมายที่ป้องกันการหนีภาษีเป็นการเฉพาะ 4) รัฐบาลต้องนำหลักการบริหารตามแนวคิดเรื่องธรรมมาภิบาลมาใช้อย่างจริงจังโดยเฉพาะเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น 5) รัฐบาลต้องจัดตั้งองค์กรทางวิชาการด้านภาษีอากรเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เสียภาษี และ 6) รัฐบาลต้องสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของเงินภาษีที่รัฐบาลต้องจัดเก็บเพื่อสร้างประโยชน์แก่สาธารณะ
This research explored and described casual factors and prevention guideline of tax evasion of listed companies in the Stock exchange of Thailand. The research objectives were 1) to identify influential casual factors on tax evasion and 2) to understand tax evasion patterns and 3) to study preventive guideline of tax evasion among companies listed in the Stock Exchange of Thailand. A mixed method research strategy included a qualitative and a quantitative approach. Data were collected from two groups of research participants: a group of specialists who had expertise in Professional Accounting and Tax. The quantitative research involved Accounting Managers from 330 companies listed in the Stock Exchange of Thailand and 8 specialists in Professional Accounting and Tax fields. The quantitative research deployed Statistical Package for Social Science (SPSS) and using the multiple regression analysis the factors that affect the tax evasion whereas the qualitative research engaged the in depth interview on the specialists who had expertise in Professional Accounting and Tax. The findings found the following five factors, namely 1) Equity of tax system 2) tax Law enforcement 3) states management 4) tax knowledge and understanding and 5) Ethical consideration of tax payer. Each factor has statistical significance on tax evasion. The findings suggest the frequent found tax evasion method most practice by the companies are incomplete reporting of revenues, making false statement, establishing subsidiary and offshore company and falsify expenses. Within the scope of research, key directions to avoid tax evasion are 1) The Revenue Department operated independently, as NGOs. 2) The government must cancel all BOI promotional investment, whereas 3) specific law must be passed as the preventive measures against tax evasion and 4) the government should actively implement Good Governance to combat corruption and 5) the government should establish Tax Academy to educate the tax payer and lastly 6) the government must raise the public awareness on the significant value of tax collection for public benefit.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์