การสมรสข้ามวัฒนธรรมระหว่างผู้หญิงไทยและชาวสวีเดน

Main Article Content

ศุภวดีพร เดรยาเร่อ

Abstract

           การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและการพัฒนาความสามารถของผู้หญิงไทยที่มีการสมรสข้ามวัฒนธรรมระหว่างผู้หญิงไทยและชาวสวีเดน ซึ่งผู้หญิงไทยต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อไปพำนักอาศัยอยู่กับครอบครัวของสามีในประเทศสวีเดน เป็นการศึกษาชีวิตและการปรับตัวของผู้หญิงไทยในประเทศสวีเดน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยการการจำแนก และจัดระบบข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลและอธิบายภายใต้เงื่อนไขจากสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงกระบวนการในการปรับตัว และพัฒนาตนเองให้เกิดการยอมรับในการอยู่ในสังคมสวีเดนอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ


            ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 100 มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัวและรับจ้างคิดเป็นร้อยละ 35  อยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50  อายุการทำงานและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในประเทศสวีเดน มีค่าเฉลี่ยคือจะอาศัยอยู่ 7 ปีขึ้นไป ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 75 และสถานภาพส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพสมรสซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80     โดยผลการวิเคราะห์ด้านศักยภาพของผู้หญิงไทยในประเทศสวีเดน พบว่า ความเป็นอยู่ส่วนใหญ่มีระดับปานกลาง และภาพลักษณ์ของผู้หญิงไทยในด้านสังคมถูกมองว่าเป็นคนที่มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน มีมารยาท และมีความขยันสู้งานแต่ด้านลบถูกมองว่าเป็นผู้หญิงขายบริการ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกภาษาและฝึกวิชาชีพ ภาษาสวีดิชและความรู้ในการประกอบอาชีพเป็นความรู้หลักที่จำเป็นของผู้หญิงไทยในประเทศสวีเดน  สุดท้ายผลการวิเคราะห์ความคาดหวังและความมุ่งหวังของผู้หญิงไทยในประเทศสวีเดนพบว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ที่มาอยู่ที่ประเทศสวีเดนต้องการที่จะอยู่จนอายุเกษียณเพื่อที่จะได้รับเงินเกษียณจากรัฐบาลสวีเดน


          This study aims to study the potential and ability development of Thai women’s capacity for cross - cultural in between Thai and Swedish marriages and study life and the adjustment of Thai women in Sweden from a population of 20 people. By classification and organization of data for find the relationship of the information and explanations under the conditions of social environment and culture. Including the process of adaptation and self-development for acceptance in the Swedish society for happy and successfully.


            The results of research showed that most of the respondents included female 100 percent, a career in private business and hired 35 percent, age of 30-39 years 50 percent, working and living in Sweden mostly lived up to 7 years 80 percent, Education level Undergraduate Degree 75 percent and marital status 80 percent. The analysis of the potential of Thai women in Sweden is living comparisons of medium and the image of Thai women in society is seen as a humble, good manner and diligent but the negative side is seen as a prostitute need to be trained in language and vocational training. And analysis of knowledge and ability of Thai women in Sweden found that the knowledge needed for the main living in Sweden is the Swedish (language) and working knowledge. Finally, the expectation analysis of the Thai women in Sweden found that want to stay until the retirement age in order to get money from the government.

Article Details

Section
บทความวิจัย