นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาความต้องการและลักษณะการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2 พัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 3 เปรียบเทียบความรู้เรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก่อนและหลังการเรียนจากคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเอง และ 4 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอน 1 การศึกษาความต้องการและลักษณะการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการใช้แบบสอบถามที่มีค่าความสอดคล้องที่ 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.96 ไปสอบถามกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม จำนวน 350 คน ซึ่งมาจากคณะ/วิทยาลัยละ 50 คน ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงและแบบก้อนหิมะ จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์โดยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอน 2 การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่มีค่าความสอดคล้องที่ 0.97 จากนั้นจึงนำไปหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 อย่างเป็นระบบ ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก่อนและหลังการใช้คู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเอง ด้วยการใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนที่มีค่าความสอดคล้องที่ 0.96 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.87 ไปทดสอบกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์โดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการใช้แบบสอบถามที่มีค่าความสอดคล้องที่ 0.96 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.97 ไปสอบถามกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์โดยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1 ความต้องการการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.96 , S.D.= 0.72) ส่วนลักษณะการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67 ,S.D.= 0.71)
2 คู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.08/84.60
3 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้คู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อคู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำตนเองเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.86 ,S.D = 0.63)
The purposes of the research were 1 to study of learning needs and learning styles about development of instructional management by self-directed learning for entry into Asean Community ,2 to develop a manual of instructional management by self-directed learning about entry into Asean Community ,3 to compare learning achievement about entry into Asean Community after study manual of instructional management by self-directed learning between pre-test and post-test ,and 4 to study satisfaction on manual of instructional management by self-directed learning about entry into Asean Community,This research was classified into 4 steps ; Step 1; study of learning needs and learning styles about development of instructional management by self-directed learning for entry into Asean Community by questionnaires with the item objective congruence was 0.92 and reliability was 0.96 inquire with 350 students of Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage were collected from 50 faculty/colleges by purposive sampling and snowball sampling then analyzed by mean and standard deviation.Step 2; develop a manual of instructional management by self-directed learning about entry into Asean Community by develop a manual of instructional management by self-directed learning about entry into Asean Community with the item objective congruence was 0.97 for efficiency equal to 80/80. Step 3; compare learning achievement about entry into Asean Community after study manual of instructional management by self-directed learning between pre-test and post-test with the item objective congruence was 0.96 ,difficulty index was between 0.20 – 0.80 ,discriminant Index since 0.20 and reliability 0.87 test with 30 students of Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage were collected by purposive sampling then analyzed by mean ,standard deviation and t-test. Step 4; study satisfaction on manual of instructional management by self-directed learning about entry into Asean Community by questionnaires with the item objective congruence was 0.96 and reliability was 0.97 Inquire with 30 students of Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage were collected by purposive sampling then analyzed by mean and standard deviation.
The finding were as follows :
1 learning needs about development of instructional management by self-directed learning for entry into Asean Community as a whole was in the high level (= 3.96 ,S.D.= 0.72) as for learning styles about development of instructional management by self-directed learning for entry into Asean Community as a whole was in the high level (= 3.67 ,S.D.= 0.71)
2 manual of instructional management by self-directed learning about entry into Asean Community had efficiency equal to 83.08/84.60
3 The students had learning achievement of the post-test score after study manual of instructional management by self-directed learning for entry into Asean Community was higher than the pre-test score, statistical significantly at the level 0.1
- Satisfaction of Students on manual of instructional management by self-directed learning for entry into Asean Community as a whole was in the high level (= 3.86 ,S.D = 0.63)
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์