การพัฒนาระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เพื่อส่งเสริมข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดในฝั่งอันดามันให้แก่ผู้สนใจผ่านทางระบบเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต และงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานจากผู้สนใจที่เข้าใช้ระบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และผู้เข้าใช้ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าไปประเมินความ พึงพอใจของระบบจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว จำนวน 30 คนหลังจากที่ระบบเปิดให้บริการผ่านระบบเครือข่ายแล้วเป็นระยะเวลา 30 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) ระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2) แบบประเมินคุณภาพของระบบและแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานจากผู้สนใจเข้าชมระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่าผลการประเมินคุณภาพของระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณภาพรวมทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานของระบบการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จากผู้สนใจเข้าชมระบบ จำนวน 30 คน พบว่ามีความพึงพอใจรวมทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี
Development of tourism system in southern Andaman Coast to promote the tourist information of the Andaman province to interested parties through the Internet. And this research aims to: 1) Develop the tourism system of the southern provinces of Andaman Coast. 2) To evaluate the quality of the tourism system in the southern Andaman Coast. By Information Technology (IT) professionals and 3) to evaluate user satisfaction from interested users who access the system. The sample in this research. The five IT professionals who came from the Purposive Sampling, And 30 users who completed the evaluation of the satisfaction of the system completed 30 days after the system is available through the network for 30 days. The instruments used in this research were 1) The Southern Andaman Coast Tourism System, 2) The System Quality Assessment Form and the Satisfaction Survey Form. The statistics used in this research were mean () and standard deviation (S.D.).
The results of the study revealed that the quality of the tourism system of the southern provinces of Andaman Coast As assessed by information technology professionals. The total quality was 4.23 and the standard deviation was 0.65. The quality level was good. And the results of the evaluation of the satisfaction of the use of tourism systems in the southern provinces of Andaman coast. Of the 30 visitors, the total satisfaction was 4.13 and the standard deviation was 0.77. The quality was at a good level.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์