วิธีการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการด้วยเกมของผู้เรียนอาชีวศึกษา

Main Article Content

ยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ
ธีระวัฒน์ จันทึก
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

          บทความวิชาการนี้มีเป็นบทความที่นำเกมมาใช้ในการเรียนรู้ของผู้เรียน เกมมีบทบาทสำคัญที่สร้างความตื่นเต้น ท้าทาย และความสนใจ เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนจึงมีความเหมาะสมที่จำนำมาใช้เป็นวิธีการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนอาชีวศึกษา บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงถึงวิธีการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการด้วยเกมของนักศึกษาอาชีวศึกษา และองค์ประกอบของขั้นตอนวิธีการเรียนรู้ด้วยเกม พบว่า การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมและความสนใจของผู้เรียนมีความสำคัญ เกมจึงเป็นสื่อที่สร้างความสนใจและจูงใจให้ผู้เรียนไม่เบื่อการเรียนรู้ ในการฝึกความเป็นผู้ประกอบการจึงมีการใช้เกมจำลองสถานการณ์ สามารถจำแนกเกมสถานการณ์จำลองออกเป็นเกมที่ใช้คอมพิวเตอร์และเกมที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ เช่น เกมกระดาน และการ์ดเกม เป็นต้น การนำเกมมาใช้ในการเรียนรู้ผู้สอนอาจจะใช้แนวทาง 2 แนวทาง คือ การสร้างเกมขึ้นมาใหม่ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การสอน และเลือกเกมที่มีผู้สร้างไว้แล้วที่มีวัตถุประสงค์ตรงกับเนื้อหาการสอน ขั้นตอนการเรียนรู้ความเป็นผู้ประกอบการด้วยเกมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการเป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนและให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเล่นเกม ขั้นตอนการเล่นเกมเป็นการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา ขั้นตอนการสรุปผลของการเล่นเกม และขั้นตอนการสรุปความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ได้จากการเล่นเกม


          This is an academic article that brings a game in a learning process of learners. The game plays an important role in expressing the excitement, challenge and interest. It creates the learning and exchanging opinions between learners which is appropriate to use as a mean to develop the entrepreneurship of vocational students. This article aims to demonstrate how to develop the entrepreneurial spirit by games of vocational students and the elements of game learning algorithms. It is found that motivation in learning is a significant part of the learner's readiness and concentration. The game is a media that creates interest and motivates learners not to be bored. In order to practice the entrepreneurial spirit, the simulation game is used. It can be classified into computer games and non-computer games such as board games, card game, etc. The instructor may use game in two ways; to create a new game to meet the purpose of teaching or choose the games that have already been created. The process of entrepreneurial learning consists of 4 steps: 1. Prepare the learners and inform the detail about the game. 2. The learners play the game in accordance to the rules. 3. Summarize the results of the game. 4. Summarize the relevance to the content of the game.

Article Details

Section
บทความวิจัย