การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักหวานป่า ที่ได้รับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ภารดี นึกชอบ
กุลบัณฑิต แสงดี
วิญญู ปรอยกระโทก
เฉลียว บุตรวงษ์
ดวงมณี ชักนำ
ศิริพร จิระชัยประสิทธิ
โกสินทร์ แสงสวงค์

Abstract

          งานวิจัยนี้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ จากกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักหวานป่าที่ได้รับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โดยมีเกษตรกรทั้งหมดจำนวน 18 ราย ผู้วิจัยทำการศึกษากระบวนและต้นทุนในการผลิตผักหวานป่าโดยประยุกต์ใช้ SCOR Model ขั้นที่ 1 โดยทำการศึกษาในส่วนงาน ดังนี้ 1) การวางแผน (Plan) 2) การจัดหา (Source) 3) การผลิต (Make) 4) การส่งมอบ (Delivery) และ 5) การส่งคืนสินค้า (Return) จากนั้นทำการวิเคราะห์ต้นทุน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์ พบว่า      มีต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์ในผักหวานป่า เท่ากับ 6.89 บาทต่อกิโลกรัม และ 2) การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการผลิต พบว่า มีต้นทุนการผลิตในผักหวานป่า เท่ากับ 17.33 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งรวมมีต้นทุนในการผลิตผักหวานป่าเท่ากับ 24.22 บาทต่อกิโลกรัม จาการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์และต้นทุนการผลิต ผู้วิจัยพบว่า ต้นทุน     โลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมก่อนจัดส่งมีต้นทุนในเรื่องของค่าขนส่งและการจ้างแรงงานที่สูง จึงเสนอแนวทางในการลดต้นทุนโดยประยุกต์ใช้แนวคิด ECRS โดยใช้ตัว C: Combine คือ การรวมภาระการทำงานของพนักงานในกิจกรรมการรวบรวมผลผลิตไว้ที่ศูนย์รวบรวม ทำให้สามารถลดการจ้างแรงงานลงได้ คิดเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ในผักหวานป่าเดิม 6.89 บาทต่อกิโลกรัมลดลงเหลือ 5.79 บาทต่อกิโลกรัม และมีต้นทุนรวมในการผลิตผักหวานป่าเดิม 24.22 บาทต่อกิโลกรัมลดลงเหลือ 23.12 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนที่ลดลง 4.54 เปอร์เซ็นต์       ซึ่งส่วนต่างต้นทุนรวมที่ลดลงย่อมนำไปสู่กำไรที่เพิ่มมากขึ้นจากการจำหน่ายผักหวานป่าของเกษตรกร


         This research has studied and analyzed production and logistics cost from cultivators Pak-wan-pa (Melientha Sauvis Pierre) certified by Good Agricultural Practices (GAP) at Ban Mor district in Saraburi province total 18 persons. Researchers have studied the process and cost of Pak-wan-pa in producing Pak-wan-pa by applying SCOR Model in first level, the study has been conducted in the following sections including 1) Plan, 2) Source, 3) Make, 4) Delivery, and 5) Return. The data were subsequently analyzed by Activity-Based Costing (ABC) which was divided into two parts consisting of logistics activity- based costing analysis from the group of agriculturists growing Pak-wan-pa certified by GAP. It was found that the logistics activity based cost was 6.89 baht per kilogram and 2) production activity based cost analysis was 17.33 baht per kilogram including the cost production of Pak-Wan-Pa 24.22 baht per kilogram. From logistics and production cost, Researchers

Article Details

Section
บทความวิจัย