ผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี ทั้งด้านเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 36 คน จังหวัดละ 6 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวม พบว่า ระดับผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.27 , S.D. = 0.50) ซึ่งผลวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำส่งผลให้อุตสาหกรรมมีการเติบโตช้า สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานในระดับปานกลางและส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีทุนต่ำหรือเงินหมุนเวียนที่น้อยต้องปิดตัวลง และเกิดการย้ายงานของพนักงาน 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย 7 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยภาวะผู้นำที่เหมาะสม ปัจจัยการประเมินผล ปัจจัยโครงสร้างขององค์การ ปัจจัยการวางแผนบุคลากร ปัจจัยวัตถุประสงค์ชัดเจน ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติ และความพร้อมด้านการบริหารทรัพยากร ซึ่งทั้ง 7 ปัจจัย อธิบายความผันแปรของการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ร้อยละ 90.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และจากการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้อย่างมาก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากกว่าอื่นๆ ทำให้องค์การต้องปรับตัวและใช้ปัจจัยการบริหารจัดการมาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ลดคุณภาพของสินค้าเพื่อการได้เปรียบเชิงการแข่งขัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลกระทบการบริหารจัดการตามนโยบายอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวมดังนี้ (1) ควรส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันและ คุณภาพชีวิตที่ดี (2) องค์การควรต้องมีการปรับตัวมากขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการลดจำนวนแรงงาน (3) ควรคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานในแต่ละตำแหน่ง (4) องค์การควรมีวิธีแก้ไขปัญหาเมื่อได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ (5) องค์การมีข้อตกลงกับพนักงานเรื่องการเพิ่มค่าแรงและศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น (6) การกำหนดค่าจ้าง ควรทำเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างระดับล่างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยลดความเหลื่อมล้ำของรายได้แรงงาน (7) การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ (8) ภาครัฐและองค์การมีส่วนร่วมในการการส่งเสริมและสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้มีการขยายตัวที่เพิ่มมากขึ้น
The objectives of this research were to 1) study the impact of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity, 2) study the factors affecting the impact of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity, and 3) propose the approaches for improvement factors affecting the impact of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity. This research was a mixed methods that combined both quantitative and qualitative approaches. The quantitative research was conducted using 400 respondents. The qualitative research was conducted by in-depth interviews with 36 key informants, each of province was 6 key informants . The data were analyzed by content analysis and interpretation. The research findings were as follows:
1)The impact of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity was overall at a moderate level (= 3.27, S.D. = 0.50), The qualitative research revealed that minimum wage policy management affected the low growth of industry and the employees satisfied at a moderate level. The societal impact was the small and medium factories with a low capital or low of working capital must be closed and turn over as well as may be an economic recession due to inflation. 2) There were 6 factors affecting the impact of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity. Ranking them from the highest partial regression coefficient, they were the suitable leader factor, the organizational structure factor, personnel planning factor, the clear objective factor, policy implementation factor and resource management readiness factor. These 7 factors could explain 90.00 percent of the variation of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity at the statistical significance level of 0.05. The results of qualitative research revealed that the textile and garment industry had impact very much from this policy because of they were a labor intensive industry more than the others so that they must be adapted and used the management factor to be utilized efficiently, production cost reduction without reduced the quality of goods for the competitive advantage. The organizations must utilize strategic management in order to driven regarding change. 3 )The proposed approaches for the improvement of the factors affecting the impact of minimum wage policy management of the textile and garment industry in the Bangkok metropolitan and vicinity as follows: (1) they should promote the security of tenure, having work guarantee and good quality of life. (2) The organization should more adapt to prevent the reduction of labor. (3) The organization should select suitable required personnel with a job of each positions. (4) The organization should find out the resolution for the adoption of the impact of minimum wage policy. (5) The organization has an agreement with the employee on raising wages and studying the impact. To reduce psychological impact and to create morale for employees. (6) Determination of wages. (7) Promotion and support from government agencies. The labor force in the textile and (8) Governments and organizations are involved in the promotion and support of international trade for further expansion.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์