ความรู้ทางการเงินของประชาชนจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วิกรานต์ เผือกมงคล

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ทางการเงิน และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนระดับความรู้ทางการเงินของเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามลักษณะข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามตามแนวทางของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (2556) ที่แบ่งความรู้ทางการเงินออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 394 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ทางการเงินได้อย่างถูกต้องในเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยทบต้น เกษตรกรตอบคำถามนี้ผิดเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ส่วนด้านพฤติกรรมทางการเงิน เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรับผิดชอบทางการเงิน ไม่มีการออมเงิน และเกษตรกรยังเลือกที่จะกู้ยืมเงินเมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และด้านทัศนคติทางการเงินส่วนใหญ่เกษตรกรมีทัศนคติทางการเงินที่ดีมีความสุขกับการใช้เงินมากกว่าการออม ส่วนด้านระดับคะแนนความรู้ทางการเงินของเกษตรกร พบว่า คะแนนความรู้ทางการเงินรวมของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายด้าน ได้แก่ คะแนนความรู้ทางการเงินของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนพฤติกรรมทางการเงินของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และคะแนนทัศนคติทางการเงินของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง และสุดท้ายการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร พบว่า ความแตกต่างด้านการศึกษา รายได้ รายจ่าย ที่อยู่อาศัย การเข้าร่วมโครงการให้ความรู้ทางการเงิน การได้รับข้อมูลทางการเงิน และการได้รับคำปรึกษาปัญหาทางการเงินของเกษตรกรที่แตกต่างกัน ส่งผลทำให้ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงินของเกษตรกรมีความแตกต่างกัน


           This research aims to study the level of financial literacy. And were analyzed and compared the differences in the level of financial literacy of farmers in Pathumthani province according to background information for farmers. The data is collected using a questionnaire based approach. Bank of Thailand (2556) which breaks down into three parts: financial literacy, financial behavior and financial attitudes. To keep the farmers in the province of Pathumthani province 394 samples. The results showed that most farmers answer questions about financial knowledge correctly in almost everything except the compound interest calculation. Farmers respond against more than half. The behavioral finance. Most farmers lack the financial responsibility. No savings Farmers also choose to borrow money when there is not enough spending. Financial terms of the attitudes and the attitudes of the farmers have a good financial happy to spend money rather than save. On the level of financial literacy of farmers indicated that the financial literacy of farmers are moderate. The rating also considers the financial literacy of farmers are moderate. The financial behavior of farmers are moderate. And the financial attitudes of farmers are moderate. Finally, studies comparing different data base of farmers found that differences in education, income, housing expenses, the program provides financial literacy. Obtaining financial information Counseling and financial problems of farmers are different. As a result, financial literacy, financial behavior and financial attitudes of farmers are different

Article Details

Section
บทความวิจัย