การพัฒนาแบบจำลองขององค์กรแห่งนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจ ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

Main Article Content

สุจิตรา วงษ์สด
ศักดิ์ชาย นาคนก
สอาด บรรเจิดฤทธิ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนาแบบจำลององค์กรแห่งนวัตกรรม ขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (2) ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในแบบจำลององค์กรแห่งนวัตกรรม ขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และ (3) ตรวจสอบแบบจำลององค์กรแห่งนวัตกรรม ขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการในธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 440 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 ในช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2560 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 415 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน ร้อยละ 94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. แบบจำลององค์กรแห่งนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจ ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ หลัก ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (2) ความพึงพอใจในงาน (3) องค์กรแห่งนวัตกรรม (4) ความได้เปรียบในการการแข่งทางโลจิสติกส์ และ (5) ผลการดำเนินงาน และมี 22 องค์ประกอบย่อย

  2. ผลการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในแบบจำลอง พบว่า ผลการดำเนินงาน (PER) ได้รับอิทธิพลรวมในทิศทางบวกจากความพึงพอใจในงาน (SAT) สูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.88 รองลงมา คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (LEA) มีค่าเท่ากับ 0.78 ความได้เปรียบในการแข่งขันทางโลจิสติกส์ (COM) มีค่าเท่ากับ 0.48 และองค์กรแห่งนวัตกรรม (ORG) มีค่าเท่ากับ 0.06 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  3. ผลการตรวจสอบแบบจำลององค์กรแห่งนวัตกรรม ขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่า c2 = 53.56, df=61, p=0.74560 และค่าดัชนีความกลมกลืนที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับทุกค่า คือ c2/df = 0.878, CFI = 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.011  และผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์มีความเห็นที่สอดคล้องกับแบบจำลองที่นำเสนอ

           This research aims to : (1) Creates and Develop Innovative Organization Model of Organization in Logistics Industies. (2) Study the influence of variables in Model of Innovative Organization in Logistics Industries (3) Examine an innovative Model of Organizations in Logistics Industries with empirical data. The sample of this research is drawn from 415 Entrepreneurs in Logistics Business on Bangkok Metropolitan Region by multi-stage random sampling method. Data was collected by a questionnaire  with a reliability of 0.955, during the period October-December 2017. In total 415 questionnaires were returned, representing a response rate of 94%. The data was analyzed by using technical analysis, structural equation model.


               The research findings were as follows:


  1. The Development of Model of Innovative Organization in Organization of Logistics Industries by literature review and in-depth interview which includes five core elements as follows: (1) Leadership (2) Job Satisfaction (3) Innovative Organization (4) Logistics Competitive Advantage and (5) Performance, and 22 sub-elements

  2. The total effects revealed that the factors influencing in the total effect topmost of Performance (PER) such as Job Satisfaction  (SAT) were in fluencing at 0.88. The next received influential directions were Leadership (LEA) were 0.78, Logistics Competitive Advantage  (COM) were 0.48 and Innovative Organization (ORG) were 0.06 at significant level of 0.01 respectively

  3. The model of innovative organization in logistics industries was consistent with empirical data based on a harmonized index of accepted criteria, considering the value of the Chi-square = 53.56, df = 61, p = 0.74560, Chi-square/ df = 0.878, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.011, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, and proposed model is verified by spacialists in academicians and logistic industries

Article Details

Section
บทความวิจัย