การกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรีภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรี (2) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรี ภายใต้การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 200 คน และการสนทนากลุ่มบุคลากรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 200 คน วิเคราะห์ผลโดยนำข้อมูลมาระดมความเห็น จัดหมวดหมู่ ตีความ และวิเคราะห์ตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเด็นสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาในการกำหนดแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรีคือแนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรี การจัดการเพื่อความปลอดภัยในการท่องเที่ยว และแนวคิดในการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐ เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบแนวคิดสำคัญดังกล่าวแล้วจึงได้ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรี ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแสดงให้เห็นสภาพแวดล้อมภายในทางด้านบวกหรือจุดแข็ง กับสภาพแวดล้อมภายนอกด้านลบหรืออุปสรรคมีผลอย่างมากต่อการท่องเที่ยวของจังหวัด ผลจากการร่วมกันกำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรีทำให้ได้ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น ตลอดจนเป้าประสงค์ และกลยุทธ์ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
The objectives of this research were (1) to inquire concepts and environment affecting the tourism promotion of Saraburi Province (2) to define strategic plan on tourism promotion of Saraburi Province under the cooperation of Local Administrative Organizations. The data were collected by establishing the workshop and focused group discussion of 200 staffs from Local Administrative Organizations. The data then analyzed using brainstorming, categorization, and interpretation according to qualitative research methodology.
The critical issues worth consideration in defining the strategic plan on tourism promotion of Saraburi Province were concepts related to tourism, tourism environments of Saraburi Province, tourism safety management, and concepts related to defining the strategic plan of public sector. When participants were informed about the critical issues mentioned above, they analyzed environmental factors related to tourism promotion of Saraburi Province. The results from environmental analysis showed that the positive internal environmental factors (or strengths) and negative external environmental factors (or threats) are crucial to the tourism of Saraburi Province. The 4 strategic issues were raised by the participants, which is then used to frame and cascade the goals and strategies of each strategic issue.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์