การปรับตัวในการเล่าเรื่องของผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแส ภายใต้ระบบทุนนิยมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

Main Article Content

พงศวีร์ สุภานนท์
มาโนช ชุ่มเมืองปักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในระบบทุนนิยม และเพื่อศึกษาวิธีการปรับตัวของผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแสที่ผลิตผลงานภาพยนตร์ในระบบทุนนิยม โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้                                                                                                      แหล่งข้อมูล ประเภทบุคคล  ได้แก่ กลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแส 3  คน  ประกอบด้วย บุญส่ง นาคภู่  ธัญญ์ วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์  อนุชา บุญยวรรธนะ  ผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแสเรื่อง อนธการ และกลุ่มนักวิชาการนักวิจารณ์ภาพยนตร์ 3 คน ประกอบด้วย เจนไวยย์ ทองดีนอก ชญานิน เตียงพิทยากร และ เอกราช มอญวัฒ นักวิจารณ์ภาพยนตร์นิตยสาร Starpics  ประเภทเอกสาร ประกอบด้วยบทภาพยนตร์ บทสัมภาษณ์ บทความ บทวิเคราะห์วิจารณ์  ภาพยนตร์ จากนิตยสาร หนังสือ  เอกสารงานวิจัย และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  รวมถึง สื่อออนไลน์ที่มีข้อมูลของ บุญส่ง นาคภู่ และ ธัญญ์วารินทร์  สุขะพิสิษฐ์   ประเภทภาพยนตร์   ได้แก่ ภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแสที่เป็นกรณีศึกษาในการวิจัย ได้แก่ บุญส่ง นาคภู่  จำนวน 7 เรื่อง ประกอบด้วย   191ครึ่งมือปราบทราบแล้วป่วน (2546)  หลอน ตอนผีปอบ (2546)  คน จนผู้ยิ่งใหญ่ (2553)  สถานี4 (2555)  ภาควังพิกุล (2556)  ธุดงค์วัตร (2559)  และมหาลัยวัวชน (2560) และธัญญ์วารินทร์  สุขะพิสิษฐ์ จำนวน 7 เรื่อง ประกอบด้วย Insect in the Backyard (2553) ฮักนะสารคาม(2554) ไม่ได้ขอให้มารัก (2555)  เธอเขาเราผี (2557)  รด เขาชนผีที่เขาชนไก่ (2557)  คืนนั้น (2558)  และปั๊มน้ำมัน (2559)  โดยรับชมผ่านทางสื่อออนไลน์ และดีวีดี   


                        การเก็บข้อมูล   ประเภทบุคคล ทำการเก็บข้อมูล 2 ส่วน ประกอบด้วย  ส่วนที่ 1  การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงสร้าง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในระบบทุนนิยม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรวงการภาพยนตร์ไทยแบบเจาะลึก (In-depth  Interview) 2 กลุ่ม คือ  กลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแส 3 คน ได้แก่  บุญส่ง นาคภู่  ธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์   และอนุชา บุญยวรรธนะ กลุ่มนักวิชาการนักวิจารณ์ภาพยนตร์ 3 คน ได้แก่ เจนไวยย์ ทองดีนอก  ชญานิน เตียงพิทยากร และเอกราช มอญวัฒ  ส่วนที่ 2  การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับกรณีศึกษาของบุญส่ง นาคภู่ และธัญญ์วารินทร์  สุขะพิสิษฐ์  ประเภทเอกสาร  รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งบทภาพยนตร์  บทสัมภาษณ์ผู้กำกับภาพยนตร์  บทความ บทวิเคราะห์วิจารณ์ภาพยนตร์ จากนิตยสาร หนังสือ รวมถึง เอกสารงานวิจัย สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และสื่อออนไลน์ ที่เกี่ยวกับข้อมูลผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแส                  ประเภทภาพยนตร์ ทำการเก็บรวบรวมจากแผ่นดีวีดีและสื่อออนไลน์ ด้วยการชมภาพยนตร์ที่ผลิตในระบบทุนนิยมของบุญส่ง นาคภู่ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 191 ครึ่งมือปราบทราบแล้วป่วน และ หลอน ตอนผีปอบ และของธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ ฮักนะสารคาม ไม่ได้ขอให้มารัก เธอเขาเราผี และรด.เขาชนผีที่เขาชนไก่ 


                 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้กรอบแนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อศึกษาโครงสร้างและผลกระทบของ อุตสาหกรรมไทยในระบบทุนนิยม และกรอบแนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์และกรอบแนวคิดประพันธกร เพื่อ ศึกษาวิธีการปรับตัวในภาพยนตร์เล่าเรื่องของผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแสกรณีศึกษา บุญส่ง นาคภู่  และ ธัญญ์วารินทร์  สุขะพิสิษฐ์ 


ผลการวิจัย


            1.) โครงสร้างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในระบบทุนนิยมในช่วงเวลาปัจจุบันมีลักษณะที่เชื่อมโยงถึง สายสัมพันธ์ระหว่างผู้กำกับภาพยนตร์กับบุคลากร  วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง 4 กลุ่ม ดังนี้ประกอบด้วย นายทุน เจ้าของโรงภาพยนตร์ สายหนัง และ รัฐบาล ต่างมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้กำกับภาพยนตร์ทั้ง ทางตรงและทางอ้อมที่หวังผลประโยชน์จากภาพยนตร์ที่ถูกผลิตผ่านผู้กำกับภาพยนตร์ไปใช้ให้เกิดรายได้มากที่สุดในทุกช่องทาง ให้เป็นไปตามความคาดหวังของนายทุนตามหลักการของระบบทุนนิยม  ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงาน คือ  การถูกครอบงำจากนายทุน  การผลิตซ้ำ การให้ความสำคัญรายได้มากกว่าคุณค่าทางศิลปะ  และถูกจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอความคิด                                        2.) บุญส่ง นาคภู่  มีการปรับตัวในการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่ถูกผลิตขึ้นจากการทำงานในระบบทุนนิยมอยู่ในลักษณะที่พยายามรักษาความเป็นตัวเองให้มากที่สุด เหมือนกับการผลิตภาพยนตร์ในระบบทุนอิสระ  แม้ว่าระบบทุนนิยมจะถูกควบคุมจากนายทุนที่มาจาก ค่ายภาพยนตร์ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพและมุมมองที่มีต่อกลุ่มชนชั้นล่างในสังคมไทยปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ในภาพยนตร์191 หนึ่งครึ่งมือปราบทราบแล้วป่วน    หลอน ตอน ผีปอบ ทั้งนี้องค์ประกอบในการเล่าเรื่องภาพยนตร์ของบุญส่งในระบบทุนนิยมที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและถูกนำมาใช้มากที่สุด แก่นเรื่อง (Theme)ตัวละคร (Character)ฉาก (Setting) บทสนทนา (Dialogue) องค์ประกอบด้านเทคนิค (Technical Elements)  และองค์ประกอบด้านสัญลักษณ์  (Symbolic Elements )


           3.) ธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์   มีการปรับตัวในการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่ถูกผลิตขึ้นจากการทำงานในระบบทุนนิยมอยู่ในลักษณะที่พยายามรักษาความเป็นตัวเองให้มากที่สุด เหมือนกับการผลิตภาพยนตร์ในระบบทุนอิสระ  แม้ว่าระบบทุนนิยมจะถูกควบคุมจากนายทุนที่มาจากค่ายภาพยนตร์ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพและมุมมองที่มีต่อกลุ่มเพศที่สามในสังคมไทยปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในภาพยนตร์ฮักนะสารคาม ไม่ได้ขอให้มารัก เธอเขาเราผี และ รด.เขาชนผีที่เขาชนไก่ ทั้งนี้องค์ประกอบในการเล่าเรื่องภาพยนตร์ของธัญญ์วารินทร์ในระบบทุนนิยมที่แสดงถึงความเป็นตัวเองและถูกนำมาใช้มากที่สุด มีดังนี้แก่นเรื่อง (Theme)  ตัวละคร (Character) ฉาก (Setting)  บทสนทนา (Dialogue) องค์ประกอบด้านเทคนิค (Technical Elementsองค์ประกอบด้านสัญลักษณ์  (Symbolic Elements)


            4.) บุญส่ง นาคภู่ และ ธัญญ์วารินทร์ สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับภาพยนตร์นอกกระแส ยังสามารถรักษาความ เป็นตัวเองในการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยมไว้ได้มากที่สุด  หากระบบทุนนิยมทำให้พวกเขาได้แสดงถึงความเป็นตัวเองอย่างเต็มที่พวกเขาก็ไม่ปฏิเสธที่จะเข้ามาทำงานในระบบทุนนิยมหรืออาจจะเข้ามาทำงานทั้ง 2 ระบบ  และเมื่อนำไปเชื่อมโยงกับแนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของอะดอร์โน ข้อค้นพบจากงานวิจัยชิ้นนี้ไม่เป็นไปตามแนวคิดดังกล่าว


 


 


               This study aimed to examine the structure of Thai film industry in the capitalism system and to investigate how the independent film directors adjusted themselves to film production in the capitalism system. The research methodology of this study is as follows.             


              Sources of data. The film-related persons included three independent film directors: Boonsong Nakphoo, Tanwarin Sukhapisit, Anucha Boonyawattana, the independent film directors of The Blue Hour, and three film critics: Janewai Thongdeenok, Chayanin Tiengpittayakorn and Ekkarat Monwat from Starpics magazine. The film-related documents included film scripts, interviews, articles, film reviews from magazines, books, research, printed media and online media containing the data of Boonsong Nakphoo, Tanwarin Sukhapisit. The films consisted of seven independent films directed by Boonsong Nakphoo, which were Crazy Cops (2003), Soul (2003), Poor People the Great (2000), Four Stations (2012), Village of Hope (2013), Wandering (2016) and Song from Phatthalung (2017), and of another seven independent films directed by Tanwarin Sukhapisit, which were Insect in the Backyard (2010), Hak na'Sarakham (2011), It Gets Better (2012), Threesome (2013), Ror Door Khao Chon Pee (2014), The Red Wine in the Dark Night (2015) and A Gas Station (2016).


              Data collection. The data collected from the directors consisted of 2 parts. (1) The first part was the data about the structure of Thai film industry in the capitalism system collected via in-depth interviews. The interviews were conducted with 2 groups of people in Thai film industry. The first group consisted of three independent film directors including Boonsong Nakphoo, Tanwarin Sukhapisit, Anucha Boonyawattana and the second group consisted of three film critics including Janewai Thongdeenok, Chayanin Tiengpittayakorn and Ekkarat Monwat. (2) The second part was the data from the case study of Boonsong Nakphoo and Tanwarin Sukhapisit. The data collected from film-related documents included film scripts, interviews with directors, articles, film reviews from magazines, books, research, printed media and online media about independent film directors. The data collected from the two films directed by Boonsong Nakphoo including Crazy Cops (2003), Soul (2003), and 4 films directed by Tanwarin Sukhapisit including Hak na'Sarakham (2011), It Gets Better (2012), Threesome (2013) and Ror Door Khao Chon Pee (2014) on DVDs and online media. All films were produced in the capitalism system.


              Data analysis. This study employed the cultural industry as a conceptual framework to examine the structure and the impacts of Thai industry in the capitalism system and the Film Narration and the Auteur Theory as conceptual frameworks to investigate the case study of Boonsong Nakphoo and Tanwarin Sukhapisit to seek how the independent film directors adjusted themselves to film production in the capitalism system.


Findings


            1.) The structure of Thai film industry in the current capitalism system demonstrated the relationship between film directors and film-related persons in four groups including investors, owners of cinemas, films and the government. All of them had the relationship with film directors directly and indirectly. They hoped to earn as much money as possible from films directed by the film directors through different channels to serve expectations of the investors in the capitalism system. This created impacts on the film directors. That is, the film directors were dominated by the investors. Repeated production and importance of revenue over artistic value were focused and idea was limited.


            2.) Boonsong Nakphoo adjusted himself in the area of film narration in the capitalism system. He tried to remain how he was as much as possible. This was similar to film production in the independent capital system, the capitalism system was controlled by the investors from film production companies. Specifically, reflection on and perspectives toward the lower class in Thai society was obviously seen in Crazy Cops and Soul. Theme, character, setting, dialogue, technical elements and symbolic elements were the most frequently used elements in Boonsong’s films to represent himself in the capitalism system.


3.) Tanwarin Sukhapisit adjusted himself in the area of film narration in the capitalism system. He tried to remain how he was as much as possible. This was similar to film production in independent capital system, the capitalism system was controlled by the investors from film production companies. Specifically, reflection on and perspectives toward homosexual people in Thai society was obviously seen in Hak na'Sarakham, It Gets Better, Threesome and Ror Door Khao Chon Pee. Theme, character, setting, dialogue, technical elements and symbolic elements were the most frequently used elements in Boonsong’s films to represent himself in the capitalism system.


4.) Boonsong Nakphoo and Tanwarin Sukhapisit, independent film directors could remain how they were through film narration in the capitalism system. If the capitalism system allowed them to be themselves, they would not refuse to work in the capitalism system or in both systems. When relating the findings of this study to the cultural industry by Adorno, the findings were not consistent with the concept.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พงศวีร์ สุภานนท์

นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

มาโนช ชุ่มเมืองปักษ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์