รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด

Main Article Content

อุไรวรรณ กุลเวชกิจ
สุวพร เซ็มเอง
ธนวรรธ ศรีวะรมย์

Abstract

               การวิจัยรูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดมี 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ทักษะการบริหารงาน และแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 144 คนโดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้าง และตรวจสอบความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบในด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้โดยผู้บริหารในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 144 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า ทักษะการบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด ประกอบด้วยสารสนเทศต่างๆ มี 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การจัดลำดับความสำคัญ องค์ประกอบที่ 2 การเสริมสร้างความสามัคคี องค์ประกอบที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ประกอบที่ 4 การพัฒนาตนเอง ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่ารูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก


 


 


               The research entitled “a model of developing administrative skills of private educational administrators under the Office of Roi-Et Primary Educational Service” consisted of three stages; 1) to study and analyses the administrative skills and skills development guideline of school administrators. The sample group composed of 144 private school administrators under the Office of Roi-Et Primary Educational Service by using the survey questionnaire and interviewing technique of nine experts. 2) to construct and evaluate a model by five experts. 3) an evaluation of a model for it feasibility, appropriateness and beneficially by 144 private educational administrators under the Office of Roi-Et Primary Educational Service. The statistics used for data analyses were percentage, mean, and standard deviation. The findings were found that:
               1. An overall administrative skills of private educational administrators under the Office of Roi-Et Primary Educational Service were at the high level.
               2. A model of development of administrative skills of private educational administrators under the Office of Roi-Et Primary Educational Service comprised four (4) components: 1) the priorities 2) strengthening unity 3) application of information technology 4) personal development. The feasibility, appropriateness and beneficially of a model of development of administrative skills of private educational administrators under the Office of Roi-Et Primary Educational Service in overall were at the high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อุไรวรรณ กุลเวชกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

สุวพร เซ็มเอง

อาจารย์   สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

ธนวรรธ ศรีวะรมย์

ผู้ช่วยศาตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ