ลักษณะงานที่เหมาะสมกับแรงงานผู้สูงอายุ

Main Article Content

พัชรพงศ์ ชวนชม
ธีระวัฒน์ จันทึก
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

               ปรากฎการณ์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย คือ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลพบว่าขนาดหรือจำนวนของประชากรรวม และประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น มีการคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์สังคมสูงวัยในประเทศไทย และการพิจารณาลักษณะงานที่มีความเหมาะสมกับแรงงานผู้สูงอายุ ผลจากการวิเคราะห์ในภาพรวมพบว่า ลักษณะงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุควรพิจารณาจากความสอดคล้องทฤษฎีความต้องการจำเป็นของมาสโลว์ กับความสัมพันธ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยเป็นงานที่ไม่ต้องใช้กำลังแรงงานมากนัก การงดเว้นงานเสี่ยงที่ต้องใช้ประสาทสัมผัส ควรพิจารณาลักษณะงานที่ใช้ไม่ต้องใช้ทักษะด้านความจำ หลีกเลี่ยงการทำงานที่มีความเครียดหรือความดันสูง และให้ความสำคัญกับงานหรือกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับจากสังคมและคนรอบข้าง โดยเฉพาะงานประเภทด้านที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ หรืองานที่ต้องใช้ประสบการณ์ และความสัมพันธ์ที่สั่งสมมาก่อนวัยผู้สูงอายุ เช่น วิทยากร ครู นายหน้า เป็นต้น


 


               This academic article is aimed was to study the aging society in Thailand. And considering the type of work appropriate for older workers. The results of the analysis is the appropriate job characteristics for the elderly should be based on the consistency of the requirements theory of the Maslow. With physical, mental, and social relationships, it is not a labor-intensive task. Refrain from risky work requiring sensory Should consider the nature of the work does not require memory skills. Avoid work with stress or high pressure. And focus on jobs or activities that are accepted by society and those around them. Especially, the type of consultant to give advice or work experience. And early relationships brought up before the age of the elderly, such as lecturers, teachers, etc.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พัชรพงศ์ ชวนชม

นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ธีระวัฒน์ จันทึก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พิทักษ์ ศิริวงศ์

รองศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร