การใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศและปัญหาการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 2) เปรียบเทียบการใช้ และปัญหาการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้ประชากรทั้งหมดจำนวน 417 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูผู้สอน มีการใช้สารสนเทศโดยรวมในระดับมาก จำแนกเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้สารสนเทศด้านการดำรงชีวิตและครอบครัว มากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้สารสนเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัญหาการใช้สารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ สารสนเทศที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ ห้องสมุดของสถานศึกษามักจัดเก็บไม่เป็นหมวดหมู่ทำให้หายาก) แหล่งสารสนเทศภายนอกไม่สามารถขอยืมกลับได้ (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนทั้ง 2 วิชาใช้สารสนเทศมากกว่า ครูผู้สอนเฉพาะการงานอาชีพ และครูผู้สอนเฉพาะเทคโนโลยี ครูอัตราจ้างมีการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้ช่วย ครู ค.ศ.1 ค.ศ.2 และ ค.ศ.3 และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดกลาง มีการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดใหญ่ เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่าครูผู้สอนทั้ง 2 วิชา มีระดับปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่า ครูผู้สอนเฉพาะการงานอาชีพ และครูผู้สอนเฉพาะเทคโนโลยี ครูอัตราจ้างมีระดับปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้ช่วย ครู ค.ศ.1 ค.ศ.2 และ ค.ศ.3 และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระดับปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดกลาง
This research aimed (1) to study information use and problems of information use by teachers in learning area of occupations and technology under the secondary education service area office 42; (2) to compare information use and the problems of information use by these teachers.
This research was a survey study and the population consisted of 417 occupations and technology’s teachers under the secondary education service area office 42. The instruments were questionnaires. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation.
The research findings can be summarized as follows. The occupations and technology’s teachers (1) use information at the high level, and when classified by each aspect, the most used were living and working and information and communication technology. The problems of information use were at the high level, including the information received is insufficient to be used, library of the school is often not classified as a category, making it difficult to find and external sources cannot be borrowed. (2) Comparing information use by teachers in the subject matter of occupational learning and technology, it was found that both teachers used information more than teacher who teach only one subject only. Teachers used information more than teacher assistants, teachers 1, 2 and teachers 3. Teachers in medium schools used information more than teacher in small schools and large schools. Comparing the problems of information use by teachers in the subject matter of occupational learning and technology, it was found that both teachers used information more than teacher who teach only one subject only. Teachers used information more than teacher assistants, teachers 1, 2 and teachers 3. Teachers in large schools used information more than teacher in small schools and medium schools.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์