ศึกษาการจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 ในพระพุทธศาสนา ของสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 ในพระพุทธศาสนาของสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี (2) ศึกษาเปรียบเทียบการจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 ในพระพุทธศาสนา จำแนกตามปัจจัยบุคคล (3) เพื่อศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมการจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 ในพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง 350 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบรายคู่เซฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการจัดสรรทรัพย์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย จำแนกรายด้านส่วนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ส่วนที่ 1 ใช้จ่ายเลี้ยงตนเอง เลี้ยงคนที่ควรบำรุงและทำประโยชน์ รองลงมา ได้แก่ ส่วนที่ 4 เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น และน้อยที่สุด ได้แก่ ส่วนที่ 2 และ 3 ใช้ลงทุนประกอบการงาน (2) เปรียบเทียบการจัดสรรทรัพย์ พบว่า มีพฤติกรรมการจัดสรรทรัพย์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน ส่งผลให้การจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) แนวทางการส่งเสริมการจัดสรรทรัพย์ตามหลักโภควิภาค 4 พบว่า ใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพและควรปฏิบัติตาม บุคคลใดก็ตามที่สามารถจัดสรรทรัพย์ได้ตามโภควิภาค 4 จะทำให้มีความสุขสะดวกสบาย การปฏิบัติก็ไปตามสถานะ ในการจัดสรรทรัพย์นั้นนอกจากเป็นไปตามหลักโภควิภาค 4 แล้ว ควรต้องประกอบด้วย โภคอาทิยะ 5 ด้วยซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ การเลี้ยงครอบครัวหรือคนที่อยู่ปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข การบำรุงเพื่อนหรือผู้ร่วมงานให้เป็นสุข การสงเคราะห์บำรุง 5 อย่าง
This research was survey study aimed (1) to study of money–management in accordance with Buddhist fourfold division of money of Chumchonpakkredruamjai II group (2) to compare money–management in accordance with Buddhist fourfold division of money (3) to study ways of using money–management in accordance with Buddhist fourfold division of money. Simple random selection for samples was used. The sample size was 350. The instrument were questionnaires. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The research found that (1) The overall allocation behavior at low level. The highest mean of the mean was the self-reliant part. The people who should nourish and make the secondary benefit is Part 4 kept in the necessary time. And the least part is the second and third part. (2) to compare money–management in accordance with Buddhist fourfold division of money founded that the sample had the allocation behavior, In term of personal factors, gender, age, status, education, occupation and income, the allocation of wealth according to the four sectors was significantly different at .05 level (3) to study ways of using money–management are applicable to all ages and occupations and should be followed. Any person who can allocate the property. Will make happy, comfortable The practice goes according to state. In the allocation of the property, in addition to the benefits of the fourth sector, it should be included in the same category 5, with similar characteristics, that is, to feed the family or the governed. Nurturing friends or colleagues happily. 5 kinds of support
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์