ประสบการณ์การใช้สารเคมีของเกษตรกรชาวสวนส้มโอจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
Abstract
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายในศึกษา ได้แก่เกษตรกรชาวสวนส้มโอที่กำลังปลูกส้มโอในอำเภอนครชัยศรี เลือกแบบเจาะจงจากเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่าสารชีวภาพ ใช้เทคนิคสโนส์บอล เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสิ่งแวดล้อมรอบบ้านจนได้ข้อมูลอิ่มตัว ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหา (Content analysis)
การวิจัยพบว่า เกษตรกรใช้ปุ๋ยและสารเคมีมากในช่วงออกดอก โดยใส่ปุ๋ยตั้งแต่เริ่มปลูก ต่อมาใส่ทุกเดือนหรือ 2 เดือน ใช้ปุ๋ยแบบที่เคยใช้หรือใช้ตามๆกัน ทั้งปุ๋ยเคมีและชีวภาพ เมื่อต้นส้มโอมีอายุได้ 4 ปี จะออกดอก จะพ่นสารเคมีทุกอาทิตย์ เกษตรกรรับรู้ว่าสารเคมีมีประโยชน์ในการกำจัดศัตรูพืชรวมทั้งวัชพืชได้ดี ผู้ขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมาหาเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำ และเวียนมาหาบ่อยๆ เกษตรกรเคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพทดแทนจากนักวิชาการเกษตร แต่ไม่สะดวก เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบตลอดเวลา ใช้เวลาเตรียมนาน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรก็รับรู้อันตรายจากสารเคมีที่ตนเองใช้ ช่วงที่ใช้มากๆ ก็จะป้องกันตนเอง ปกปิดร่างกาย ไม่สัมผัสสารเคมีโดยตรง แต่ก็รู้สึกอืดอัดและไม่สะดวก และจะเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดพ่นไว้ในเป็นที่เฉพาะ
ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีอื่นที่ทดแทนการใช้สารเคมี ต้องสะดวกในการหยิบหาและการใช้ และไม่กระทบต่อรายได้ของเกษตรกร
The herbicide substances are harmful for the farmer, the consumer and environment. This qualitative research aimed to study the experiences of the pomelo garden in Nakhon Pathom Province’s Nakhonchaisi Sub-district. The farmers who mostly used chemical substances were purposively selected by the Snow ball technique, 12 persons, until the data collected by interviewing form and the observation checklist of chemical using were on saturation. These data were analyzed on the contents.
The research revealed that the farmers mostly used a fertilizer and a chemical substance during the blooming period starting since planting and then every month or two months. The fertilizer with both organic and inorganic and the chemical substances were used as usual or followed the peers’ suggestion. When the plants aged 4 years with blooming, the chemical was spied every week. The farmers accepted a good benefit of the herbicide. The chemical salesman was the person who gave suggestion and usually visited them. Although the farmers had gotten a training from the agronomist in using the organic substitute, they felt inconvenience, the raw materials were rare and the preparation was on a long time. Fortunately, the farmers still had perception of the harmfulness so they protected themselves in the period of too much use. Though they felt uncomfortable, they covered the body parts and did not touch directly. They also kept the equipment which had chemical contamination separately.
Therefore, the avoidance of herbicide by finding a substitute method must be convenient and available all time. Significantly that method does not disturb their revenue.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์