กระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับครูโรงเรียนกลุ่มท่างามชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

ดาวรถา วีระพันธ์
อรุณี คำแผ่นไชย

Abstract

                   งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนาสื่อรายวิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อรายวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) กลุ่มครูและนักเรียนโรงเรียนท่างามชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 4 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสิงห์อุดมวิทยา  โรงเรียนวัดระนาม โรงเรียนวัดบางปูน และโรงเรียนศรีอุดม ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นกลุ่มครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งหมดจำนวน 12 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งหมด 58 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์  2) สื่อรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6  3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{\chi}= 3.00 S.D. = 0.61) ระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอน ภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{\chi}= 3.90 S.D. = 0.58) ระดับความคิดเห็นต่อสภาพด้านการวัดผลและประเมินผลภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{\chi}= 2.91 S.D. = 0.67) จากการสำรวจความต้องการพบว่าคณะครูมีความต้องการพัฒนาทักษะและความรู้ในการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมากที่สุด (gif.latex?\bar{\chi}= 4.62 S.D. = 0.49)   2) สื่อรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6  ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 78.41/78.27 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


                   The purposes of this research were to 1) study of problems and needs for improving the application skills of information and communication technology in teaching and learning mathematics. 2) develop learning media for Mathematics subject under efficacy of 75/75 criteria and 3) study students' Mathematics learning achievement under circumstances of before and after using Mathematics learning media. The samples used in this study were teachers and students from Tha-Ngam School Groups, Inburi District, Singburi Province. There were 4 schools including Singhudom Witthaya school, Watranam school, WatBangpoo school and Sriudom school. The researcher used the purposive sampling group of Mathematics teachers, three teachers from each school which was total of 12 teachers, and 58 students in Prathomsuksa 6. Tools used in this research consist of 1) questionnaire on problems and needs for skill development in applying information technology and communication in teaching and learning Mathematics. 2) Mathematical media for Prathomsuksa 6 3) Mathematics Achievement Test. Data were statistically analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test. The research results were as followed 1) The level of overall opinions on the problems of teaching and learning management was at a moderate level. (gif.latex?\bar{\chi}= 3.00 S.D. = 0.61), Level of opinion on the problems of teaching media was high. (gif.latex?\bar{\chi}= 3.90 S.D. = 0.58), Level of opinion on the problem of measurement and evaluation was moderate. (gif.latex?\bar{\chi}= 2.91 S.D. = 0.67), Demand survey found that teachers need in developing their skills and knowledge in order to apply software packages to develop teaching media was very high (gif.latex?\bar{\chi}= 4.62 S.D. = 0.49)   2) the developed Mathematical media was effective of 78.41/78.27, according to the criteria, and.3) Achievement of students after learning by Mathematical media was increased at significant level of .05.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ดาวรถา วีระพันธ์

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

อรุณี คำแผ่นไชย

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี