การวิเคราะห์พื้นที่เสียหายจากไฟป่าด้วยข้อมูลจากดาวเทียม ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ดาวุฒิ กาลาเอส
สุพรรณ กาญจนสุธรรม
แก้ว นวลฉวี
ณรงค์ พลีรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์การรับรู้จากระยะไกลและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์พื้นที่เสียหายจากไฟป่า ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งนำข้อมูลจุดที่มีความร้อนผิดปกติบนพื้นผิวโลกจากดาวเทียม NOAA มาวิเคราะห์จุดที่เกิดไฟป่าซ้ำ และมีการวิเคราะห์พื้นที่เสียหายจากไฟป่าโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-1 จากการเปลี่ยนแปลงของค่าการสะท้อนกลับ โดยใช้พื้นที่ตัวอย่างในการจำแนกจากข้อมูลพื้นที่เสียหายจากไฟป่าจริงด้วยวิธีการจำแนกแบบกำกับดูแล ผลการศึกษาพบว่าภายในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มี Hotspot เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาจำนวน 1,207 จุด โดยเดือนที่มี Hotspot มากที่สุดคือเดือนมีนาคม มีจำนวน 712 จุด พื้นที่ที่มีจำนวนจุด Hotspot มากที่สุดคือพื้นที่ป่าอนุรักษ์สาละวิน มีจำนวน 192 จุด การวิเคราะห์พื้นที่เสียหายจากไฟป่าด้วยวิธีการจำแนกแบบกำกับดูแล พบว่ามีพื้นที่เสียหายจากไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติขนาด 10,528.69 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ขนาด 5,887.34 ไร่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขนาด 4,641.35 ไร่ ซึ่งพื้นที่ที่มีความเสียหายจากไฟป่ามากที่สุดคือ พื้นที่ป่าอนุรักษ์สาละวิน มีพื้นที่เสียหายขนาด 1,832.26 ไร่ จากการตรวจสอบค่าความถูกต้องของการจำแนกพื้นที่เสียหายจากไฟป่า ในเขตป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ พบว่าผลของการจำแนกพื้นที่เสียหายจากไฟป่ามีความถูกต้องร้อยละ 89.04

Article Details

บท
บทความวิจัย