ประสิทธิภาพความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เสนอการวัดประสิทธิภาพความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีเส้นล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis : DEA) ด้วยแบบจำลอง BCC (Banker, Charnes & Cooper, 1984) ใช้ปัจจัยผลิตสองชนิด คือ งบประมาณแผ่นดินต่อหัวนักศึกษา และจำนวนบุคคลากรรวม ผลผลิตแปดชนิด คือ ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ (ฉันธะ จันทะเสนา, 2561) และอีก 7 ชนิดจากปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคมของ จอย ทองกล่อมสี (2555) เก็บข้อมูลจากนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 9 แห่งในภาคกลาง
ผลการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี การศึกษาในอนาคตเสนอให้ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมด เพื่อจะได้ทราบถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของมหาวิทยลัยราชภัฏแต่ละแห่ง
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์