LANGUAGE LEARNING MOTIVATION OF GRADE 12 LEARNERS IN BHUTAN
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตภาคตะวันออกของประเทศภูฎาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 238 คนจากโรงเรียนสองแห่งในเขตซัมดรุปจองการ์ โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับจาก Gardner’s (1985) Attitude/Motivation Test Battery (AMTB) จำนวน 30 ข้อและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับนักเรียน 16 คนที่ได้จากการอาสาสมัครเพื่อเก็บข้อมูลด้านแรงจูงใจและสาเหตุของแรงจูงใจ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาในระดับสูง (x̅ =4.02) ในแบบเชิงเครื่องมือ (x̅ =3.80) และแบบบูรณาการ (x̅ =4.25) ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในเชิงบูรณาการสูงกว่าค่าเฉลี่ยแรงจูงใจแบบเชิงเครื่องมือ (.40) ผลการสัมภาษณ์พบว่าแรงจูงใจแบบเชิงเครื่องมือเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนในโรงเรียน เป็นภาษาสากลและเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาสำหรับข้อมูล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้สำหรับการศึกษาต่อและการทำงานในต่างประเทศ ส่วนแรงจูงใจแบบบูรณาการจะเกี่ยวข้องกับความร่ำรวยทางภาษา ความใกล้ชิดวัฒนธรรม การได้ใช้ภาษาอย่างกว้างขวาง การปรับตัวที่ง่าย ความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นเจ้าของภาษา และทัศนคติในเชิงบวกต่อภาษาและเจ้าของภาษา
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์