การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กล้าเกื้อ เวียงแก้ว
อ้อมธจิต แป้นศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรและความจุ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรและความจุ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรและความจุ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรและความจุ แบบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในงานวิจัยนี้ ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 แผน แต่ละแผนประกอบด้วย 1) ขั้นดึงดูดความสนใจ 2)  ขั้นเข้าใจสถานการณ์ 3)  ขั้นผสานความคิด 4)  ขั้นพิชิตโจทย์ปัญหา 5) ขั้นได้เวลาแสดง
และ6) ขั้นแจงข้อสรุป ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรและความจุ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 74.89/76.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียน (15.13) สูงกว่าก่อนเรียน (9.77)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรและความจุ อยู่ในระดับ มาก (𝑥̅ = 4.28, S.D. = 0.70)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกษมะณี ลาปะ. (2559). การพัฒนาความคิดร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับผังกราฟิก ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ชนิศวรา ฉัตรแก้ว. (2549). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรขาคณิตและลำดับขั้นการคิดทางเรขาคณิตตามรูปแบบแวนฮีลีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเรขาคณิตแบบพลวัตรสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2526). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.

ณัฐรดา ธรรมเวช. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บุญชนก ธรรมวงศา. (2561). 4CS : สี่ทักษะการเรียนรู้ที่ควรมี ฝึกกันได้ และไม่ต้องใช้พรสวรรค์. https://thepotential.org/knowledge/4cs-for-21st-century-learning/

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาสน์.

มณีพิมพ์ วรรณภพ. (2564). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สมโภชน์ พูลเขตกิจ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างทักษะ

ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน.

สโรชา เอิบโชคชัย. (2564). ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน เลิกท่องจำความรู้มุ่งสู่การฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง. กระทรวงศึกษาธิการ.