อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด รูปแบบการดำเนินชีวิต และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกรูปแบบขนมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ของที่ระลึกรูปแบบขนมในกรุงเทพมหานคร มีศักยภาพในการช่วยยกระดับประสบการณ์วัฒนธรรมเศรษฐกิจท้องถิ่น และสามารถเป็นเครื่องมือการตลาดที่มีศักยภาพในการสอดแทรกการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วัตถุดิบที่ทรงคุณค่า และการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวกรุงเทพมหานคร ผ่านผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปแบบขนม การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกรูปแบบขนมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกรูปแบบขนมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกรูปแบบขนมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ในกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร จำนวน 460 คน โดยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐานด้วยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
และรูปแบบการดำเนินมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกรูปแบบขนมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 งานวิจัยดังกล่าวทำให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกรูปแบบขนมของนักท่องเที่ยวและสามารถนำปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปแบบขนมเพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ภาษาไทย
ขจรศักดิ์ ธีระทวีสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้ารูปแบบดิจิทัลของประชากรในจังหวัดปทุมธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต [การค้นคว้าอิสระไม่ได้ตีพิมพ์] วิชาเอกระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงกลธัญบุรี.
ทัศนา หงส์มา. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยราชพฤกษ์
ธนัชพร ศรีเวชนันต์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาด รูปแบบการดำเนินชีวิต และการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มธัญพืชของประชากรในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต [การค้นคว้าอิสระไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. . วีอินเตอร์ พรินท์.
นมัสการ มรรคสุนทร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องเรือนอเนกประสงค์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด. (2566, 17 เมษายน). Soft Power อาหารไทย ฟันเฟืองใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย.4. เข้าถึงได้จาก Money and Banking: https://moneyandbanking.co.th/2023/34149/
พุธสดี สนิทเปรม. (2562). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงอาหารอย่างยั่งยืนของเป้าหมายนักท่องเที่ยวชาวจีน: กรณีศึกษาเทศบาลภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง. (2565, 17 มิถุนายน). สถิติการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร. http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/upload/module_cms/title_cms.pdf
สุพัตรา อํานวยเกียรติ. (2559). ทัศนคติต่อสุขภาพ รูปแบบการดำเนินชีวิตและการโฆษณาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต [การค้นคว้าอิสระไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อุทิส ศิริวรรณ. (2559). จริต ๖ กับคนเจนวาย: เปรียบเทียบคน 14 อารมณ์กับคน 3 ยุค.
วารสารทางเดิน, 174
ภาษาอังกฤษ
Ayu Nurwitasari. (2016). The Influence of Gastronomic Tourism Traditional Sundanese Food on Tourist Visit Decisions to Bandung. 10.2991/atf-16.2016.85.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., และ Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River.: Pearson Education.
Ministry of tourism and sport. (2023). Economics Tourism and Sports Division (2023). Ministry of tourism and sport: https://www.mots.go.th/news/category/659