แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬา ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

อสมา รัศมีธรรม
กมลวรรณ วรรณธนัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬา
2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬา วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน
คือ 1) ศึกษาสภาพและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้รับบริการด้านกีฬา จำนวน 392 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบอิสระ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีแอลเอสดี และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทองที่รับผิดชอบงานด้านกีฬา นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬา จำนวน 11 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
คือ ด้านบุคลากร 2) ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ควรมีการปรับปรุงอาคาร สถานที่ ตรวจสอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์กีฬาและการออกกำลังกายให้พร้อมใช้งาน (2) ควรจัดหาบุคลากรให้เพียงพอและมีความรู้เฉพาะทางด้านกีฬา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ.2555– พ.ศ. 2559).

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2564 – 2570).

การกีฬาแห่งประเทศไทย.

กัลยพัทธ การดี. (2556). คุณภาพการให้บริการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง.

[ปัญหาพิเศษไม่ได้ตีพิมพ์] ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป

วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กีรติ มีแวว. (2553). การส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว.

[การศึกษาอิสระไม่ได้ตีพิมพ์] ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). มาตรฐานการส่งเสริมกีฬา. เอกสารอัดสำเนา.

จินตนา อุปทุม. (2551). ประสิทธิภาพการให้บริการสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขององค์การ

บริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [การศึกษาค้นคว้าอิสระไม่ได้ตีพิมพ์]

ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรียาภัทร อ้นมี. (2556). บทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายในการบริหารงานด้านการส่งเสริมกีฬา.

[การศึกษาค้นคว้าอิสระไม่ได้ตีพิมพ์] ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สำนักวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

พิชัยณรงค์ กงแก้ว. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยองค์การ

บริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสาขาวิชาพลศึกษาและ

นันทนาการ คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราซภัฏเชียงใหม่, 15(1). 15-26.

วีระศักดิ์ ไววาง. (2561). กระบวนการส่งเสริมกีฬาเพื่อมวลชนสำหรับเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลหนองล่อง

อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์] วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2564). การพัฒนาการบริหารของเทศบาลตำบลกับการบริหารเพื่อการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานการส่งเสริมกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา

จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยการ กีฬาแห่งชาติ

วิทยาเขตสมุทรสาคร, 9(3). 390–399.

ภาษาอังกฤษ

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). Harper Collins Publishers.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row.