การพัฒนาชุดการเรียนแบบสื่อประสมตามแนวคิด ADDIE Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการปฏิบัติงานและความคิดสร้างสรรค์ วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการเรียนแบบสื่อประสม ตามแนวคิด ADDIE Model วิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง รวม 15 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sample) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า
1) ประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้แบบสื่อประสมตามแนวคิด ADDIE Model วิชาการงานอาชีพ มีค่าประสิทธิภาพ 81.55/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนแบบสื่อประสม มีคะแนนความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานบ้าน มีคะแนนทักษะการปฏิบัติงานหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ทั้ง 6 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบคะแนนกับเกณฑ์ร้อยละ70 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อชุดการเรียนแบบสื่อประสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.23, S.D. = 0.26)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ภาษาไทย
กมล โพธิเย็น. (2562). ความคิดสร้างสรรค์ : พรสวรรค์ที่ครูควรสรรค์สร้างให้ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1): 8-27.
จินตนา ศุภกรธนสาร. (2564). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดเดวีส์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องอาหารและโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนเขตพิเศษภาคตะวันออก,
(2):60-76.
จินตนา สมศิลป์ และ พรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2560). การพัฒนาชุดการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องอาหารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34): 155-167.
ชฎารัตน์ เฮงษฎีกุล. (2566). ความคิดสร้างสรรค์: เกิดขึ้นเองหรือพัฒนาได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13 (2): 122-130.
ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1): 1-20
ณัฐกานต์ ภูมิคอนสาร. (2565). ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่หล่นหายไปของผู้เรียนกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(1): 1-9.
ดาวรถา วีระพันธ์ และ ชญาภา บาลไธสง. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3): 52-63.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). การพัฒนาและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 27(1): 1-14.
ธนทรัพย์ โกกอง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติงาน สำหรับนิสิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธารทิพย์ ขัวนา และ ขวัญชัย ขัวนา. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงผลิตภาพทางการศึกษา : สู่ยุค การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2): 325-342.
นันทพร รอดผล. (2558). การพัฒนาผลการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2): 749-768.
ปฏิมา พุดจีบ, อินธิรา เกตุศิริ, สรุตรา ปราบสกุล, ชัยนะรินทร์ ทับมะเริง (2566). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 8(2):105-117.
ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ และ สิทธิชัย ศิริมา. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาโปรแกรมนำเสนอ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft PowerPoint สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1): 79-90.
รวิพัชร์ นิลพัฒน์ และคณะ. (2563). ผลการใช้ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การดูแลรักษาบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2): 279-290.
วันเพ็ญ โพธิ์เกษม และ คณะ. (2559). ศึกษาความพึงพอใจวิธีการจัด การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาในวิชาสัมมนาของโปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 134-145.
สมถวิล เชสูงเนิน และ พจนีย์ เสงี่ยมจิตต์. (2557). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องงานเกษตรคู่บ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 9(1): 135-141.
สรัญญา จันทร์ชูสกุล และ พินดา วราสุนันท์. (2563). การประเมินทักษะการปฏิบัติ: จากหลักการสู่แนวทางการปฏิบัติ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2): 36-56.
สุจิรา มีทอง. มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์. [Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/611736. 2563.
โสธร เจริญพร ธนะวัฒน์ วรรณประภา นคร ละลอกน้ำ และ ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์. (2565). การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้า วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยรำไพพรรณี 16(3): 77- 88.
อลงกรณ์ เกิดเนตร และ สมยศ เผือดจันทึก. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติเพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2): 1-15.
ภาษาอังกฤษ
Durak, G., and Ataizi, M. (2016). The ABC’s of Online Course Design According to Addie Model. Universal. Journal of Educational Research, 4(9), 2084-2091.
Tekyiwa, E. and Amua-Sekyi (2016) Assessment, Student Learning and Classroom Practice: A Review. Journal of Education and Practice, 7(21): 1-6.
Jastaniyah, A. and Bach, P.C. (2017). The Importance of Multimedia in Information Revolution. Saudi J. Eng. Technol., 2(2): 89-99.
Lucas, B., and Spencer, E. (2017). Teaching Creative Thinking: Developing Learners Who Generate Ideas and Can Think Critically. Crown House Publishing.
Mizal, M. S. and Al-Noori, B S M. (2020) Development of creative thinking skills in the English language teaching profession. International. Journal of Research in Science and Technology, 10(11): 23-37.
Nichols Hess, A., and Greer, K. (2016). Designing for engagement: Using the ADDIE model to integrate high-impact practices into an online information literacy course. Communications in information literacy, 10(2): 6.
Spendlove, Z., and Best, R. (2018). Innovation in assessment: Building student confidence in preparation for unfamiliar assessment methods. British Journal of Midwifery, 26(3), 180–184. doi:10.12968/ bjom.2018.26.3.180
Zilvinskis, J. (2015). Using authentic assessment to reinforce student learning in high‐impact practices. Assessment Update, 27(6), 7–11. doi:10.1002/au.30040