การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณจากการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบไตรสิกขากับการเรียนรู้แบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบไตรสิกขากับการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบไตรสิกขา ก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้คือ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน พระอินทร์ศึกษา(กล่อมประชาอุทิศ) อำเภอวังน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มทดลองใช้การเรียนรู้แบบไตรสิกขา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนรู้แบบปกติ ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (จับฉลากห้องเรียน) ใช้เวลาการทดลอง 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 6 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาจำนวน 3 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 3 แผน ซึ่งใช้เนื้อหาเดียวกัน คือ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานประดิษฐ์ เรื่องการประดิษฐ์ดอกกุหลาบจากถุงพลาสติก และเรื่องการประดิษฐ์ดอกยิปโซจากกระดาษโฆษณาสินค้า 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากการเรียนรู้แบบไตรสิกขามีคะแนนสูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณจากการเรียนรู้แบบไตรสิกขาสูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณจากการเรียนรู้แบบไตรสิกขาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์