การพัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูมุสลิมในภาคกลาง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูมุสลิมในภาคกลาง2) พัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูมุสลิมในภาคกลาง และ 3) การตรวจสอบและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูมุสลิมในภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 920 คน ตามข้อกำหนดของการวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้น ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการวิเคราะห์รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural equation models) ด้วยโปรแกรมลิสเรล version 9.1 Activation code: 3CF6-3CF7-A966-DFCD ประกอบด้วยค่า c2 ค่า df ค่า p value ค่า RMSEA ค่า GFI ค่า AGFI ค่า RMR ค่า SRMR และค่า CN
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูมุสลิมในภาคกลาง ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและมีความเป็นธรรม 2) องค์ประกอบด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัย 3) องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในองค์กร 4) องค์ประกอบด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน 5) องค์ประกอบด้านสังคมเศรษฐกิจ 6) องค์ประกอบด้านครอบครัว
2. ดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูมุสลิมในภาคกลาง ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและมีความเป็นธรรมได้แก่ หลักการกำหนดค่าตอบแทน การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินโดยตรงและโดยอ้อม และผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินแต่เป็นลักษณะของความพึงพอใจ 2) องค์ประกอบด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีความปลอดภัย มาตรการรักษาความปลอดภัยของการทำงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยในการทำงาน 3) องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในองค์กรได้แก่ การได้รับการยอมรับจากบุคคลในองค์กร ความร่วมมือในการทำงานและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 4) องค์ประกอบด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานได้แก่ แนวคิดการพัฒนาและการฝึกอบรมข้าราชการครูมุสลิม การประเมินความต้องการพัฒนาและการฝึกอบรมข้าราชการครูมุสลิม กระบวนการพัฒนาและการฝึกอบรมข้าราชการครูมุสลิมและการประเมินผลการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครู 5) องค์ประกอบด้านสังคมเศรษฐกิจได้แก่ รายได้ของครอบครัว สภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของข้าราชการครู และความต้องการในการช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 6) องค์ประกอบด้านครอบครัวได้แก่ การจัดการรายได้และรายจ่ายของครอบครัว วิธีการจัดสวัสดิการแก่ครอบครัว และการบริหารเวลา รักษาความสมดุลระหว่างการทำงานและครอบครัว
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์