ประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม

Main Article Content

จิระ โกมุทพงศ์

Abstract

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ ได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ และแนวทางการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารจัดการองค์กร โดยการสุ่มเก็บข้อมูลจากข้าราชการกรมพระธรรมนูญ 400 คน และ ผู้บังคับบัญชากรมพระธรรมนูญ 34 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบครอบคลุมตามกรอบแนวคิด คือ ข้อมูลพื้นฐานของข้าราชการกรมพระธรรมนูญ ประกอบด้วย หน่วยงาน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และชั้นยศ ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาองค์กร ด้านกระบวนการปรับระบบกรมพระธรรมนูญ และด้านการบริหารจัดการองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ ทั้ง 3 ด้าน โดยรวมในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.31 โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ด้านประสิทธิผลสูงสุดคือ ความสำเร็จการพัฒนาบุคลากรกรมพระธรรมนูญ รองลงมาความสำเร็จการบริหารกรมพระธรรมนูญ และด้านที่ประสิทธิผลน้อยที่สุดคือความสำเร็จของกรมพระธรรมนูญ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ (1) ด้านการพัฒนาองค์กร มี 4 ตัวแปร คือ กำหนดเป้าหมายและวิธีการ การสร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์กร การนำเทคนิคการพัฒนามาใช้แก้ปัญหา และการติดตามและประเมินผล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยสามารถทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ ได้ร้อยละ 31.10 มีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.315 และมีค่าสัมประสิทธิ์ที่ปรับแล้ว เท่ากับ 0.311 (2) ปัจจัยด้านกระบวนการปรับระบบกรมพระธรรมนูญ มีตัวแปร 5 ตัวแปร คือ พนักงานมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับงาน การจัดลำดับขั้นตอนของงานต่างๆ การทำงานเฉพาะในงานที่เหมาะสม การตรวจสอบและควบคุมการทำงาน และรูปแบบการรวมและการกระจายอำนาจ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยสามารถทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ ได้ร้อยละ 36.60 มีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.371 และมีค่าสัมประสิทธิ์ที่ปรับแล้ว เท่ากับ 0.366 (3) ด้านการบริหารจัดการองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ มีตัวแปร 3 ตัวแปร คือ โครงสร้าง กลยุทธ์ และระบบวิธีการบริหารงบประมาณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยสามารถทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการกรมพระธรรมนูญ ได้ร้อยละ 19.50 มีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.199 และมีค่าสัมประสิทธิ์ที่ปรับแล้ว เท่ากับ 0.195 3) แนวทางการบริหารจัดการองค์กรกรมพระธรรมนูญที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ (1) ควรกำหนดให้สำนักตุลาการทหารขึ้นการบังคับบัญชากับรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหมโดยตรง (2) ควรมีการปรับปรุงระบบการทำงานของบุคลากรให้สอดรับกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (3) ควรเพิ่มอัตรากำลังโดยที่ไม่ต้องใช้บุคลากรจากกองกลางของกรมพระธรรมนูญมาปฏิบัติงานที่กองการกำลังพล (4) การบรรจุข้าราชการเหล่าทหารพระธรรมนูญควรให้กรมพระธรรมนูญมีส่วนที่จะได้คัดสรรข้าราชการเหล่านี้เข้ามารับราชการ 

Article Details

Section
บทความวิจัย