การอนุรักษ์หุ่นกระบอกของไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศรัณยพัชร์ ศรีเพ็ญ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา ความเชื่อ พิธีกรรมคณะหุ่นกระบอกในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาองค์ประกอบการแสดงหุ่นกระบอกของไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาการอนุรักษ์หุ่นกระบอกของไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป รวมทั้งหมดจำนวน 100 คน จาก 2 คณะหุ่นกระบอก ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ตรวจสอบข้อมูลแล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณาวิเคราะห์

             ผลการวิจัยพบว่าความเป็นมาคณะหุ่นกระบอกได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เกี่ยวกับความเชื่อของคณะหุ่นกระบอก เชื่อในเรื่องของการทำความเคารพ นับถือ ยำเกรงตัวหุ่นกระบอกทุกตัว เกี่ยวกับพิธีกรรมมี 3 พิธีกรรม ได้แก่ พิธีกรรมการไหว้ครูก่อน   การแสดง พิธีกรรมการไหว้ครูดนตรีปี่พาทย์ก่อนการแสดง และพิธีกรรมการไหว้ครูประจำปี ด้านองค์ประกอบการแสดงหุ่นกระบอกพบว่าตัวหุ่นกระบอกมีการแต่งกายเลียนแบบละครรำ การเชิดหุ่นจะนั่งเชิดกับพื้นหรือยืนเชิด ท่ารำหุ่นเลียนแบบมาจากละครรำ ได้แก่ ท่ารำพื้นฐาน ท่ารำเพลง และท่ารำตีบท ดนตรีที่ใช้จะใช้ดนตรีปี่พาทย์ เพลง มี 2 ลักษณะ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง และเพลงร้อง โรงหุ่นมีลักษณะแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีหลังคา เรื่องที่ใช้แสดงจะใช้เรื่องที่ได้มาจากเรื่องในวรรณคดีไทย ด้านการอนุรักษ์หุ่นกระบอกของไทยพบว่าควรบรรจุเนื้อหาเรื่องหุ่นกระบอกไว้ในหลักสูตร จัดทำหนังสือเรื่องการอนุรักษ์ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ จัดนิทรรศการ จัดทำเว็บไซด์ และจัดทำแผ่นซีดีเกี่ยวกับการแสดงหุ่นกระบอกของไทย 

Article Details

Section
บทความวิจัย