ปัจจัยส่งเสริมการเกิดตลาดนัดในสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา ตลาดนัดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Main Article Content

พุฒพรรณี ศีตะจิตต์
วราลักษณ์ คงอ้วน

Abstract

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพ รูปแบบการค้าขายและให้บริการ และความต้องการของผู้ค้าในตลาดนัด เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการค้าขายและให้บริการของตลาดนัดในสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผลจากการวิจัยพบว่า ตลาดนัดสองแห่งในมหาวิทยาลัย คือ ตลาดนัดอินเตอร์โซนและตลาดนัดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติมีลักษณะกายภาพที่แตกต่างกันในเรื่องการวางผังบริเวณและการเข้าถึงตลาดนัด แต่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนที่จอดรถเหมือนกัน รูปแบบการค้าขายและให้บริการของตลาดนัดทั้ง 2 แห่งมีความหลากหลายของสินค้าถึง 6 ประเภท ได้แก่ สินค้าบริโภค สินค้าบริโภคเพื่อความพึงพอใจ สินค้าเครื่องแต่งกาย สินค้าเครื่องประดับ สินค้าอุปโภคในชีวิตประจำวันและสินค้าเบ็ดเตล็ด คิดเป็นจำนวนร้านค้ารวมกว่า 400 ร้านค้า โดยผู้ค้าคิดว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดนัดมีความรุนแรงน้อย จึงมีความต้องการให้ปรับปรุงและพัฒนาตลาดนัดอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง การวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการค้าขายและให้บริการของตลาดนัด จึงพบว่า การเกิดขึ้นของตลาดนัดมีปัจจัยที่สำคัญทั้งสิ้น 4 ประการ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของตลาดนัด รูปแบบการค้าและบริการ การดูแลสถานที่และการจัดการระบบ ข้อเสนอแนะที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเพิ่มขึ้นในตลาดนัดจึงได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงให้มากขึ้น การเพิ่มความหลากหลายในรูปแบบสินค้าและบริการ การจัดการค่าเช่าให้มีความเหมาะสมตามเจตนาการจัดกิจกรรมในสถาบันการศึกษา

Article Details

Section
บทความวิจัย