รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

กาญจนา ดำนิล

Abstract

         วิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อเสนอรูปแบบ  การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 340 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบศึกษาเอกสาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น .97 แบบสัมภาษณ์เชิงลึกมีค่าดัชนี  ความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80-1.00 และแบบสนทนากลุ่ม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         1.  คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 6 ด้าน คือ 1) คุณลักษณะด้านความรู้ 2) คุณลักษณะด้านทักษะ 3) คุณลักษณะด้านทัศนคติ 4) คุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม 5) คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ และ 6) คุณลักษณะด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยมีวิธีการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 7 วิธี คือ 1) การปฐมนิเทศ 2) การทำวิจัย  3) การศึกษา หาความรู้ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การเรียนรู้จากการทำงาน 6) กรณีศึกษา และ 7) การหมุนเวียนสับเปลี่ยนงาน

         2.  รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ

              ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย 1. แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการพัฒนาภาวะผู้นำ                 การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือเชิงสร้างสรรค์ 2) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 3) การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 4) การบริหารสู่ความเป็นเลิศ 5) การบริหารองค์กรสมรรถนะสูง และ 6) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2. หลักการพื้นฐานของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 1) มุ่งผลสำเร็จ 2) ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น 3) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 4) การมีส่วนร่วม และ 3. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน 2) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการบริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กร

              ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย คือ                 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 6 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) คุณลักษณะด้านความรู้ 2) คุณลักษณะด้านทักษะ 3) คุณลักษณะด้านทัศนคติ 4) คุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม 5) คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ และ 6) คุณลักษณะด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2. ขั้นตอน การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การประเมินก่อนดำเนินการ 3) การดำเนินการพัฒนา 4) การประเมินหลังดำเนินการ และ 5) การวิเคราะห์ผลการดำเนินการ และ 3. วิธีการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 7 วิธี ได้แก่ 1) การปฐมนิเทศ 2) การทำวิจัย 3) การศึกษาหาความรู้ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การเรียนรู้จากการทำงาน                   6) กรณีศึกษา และ 7) การหมุนเวียนสับเปลี่ยนงาน

              ส่วนที่ 3 การประเมินผลและติดตามผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินก่อนดำเนินการ 2) การประเมินระหว่างดำเนินการ และ 3) การประเมินหลังดำเนินการ

              ส่วนที่ 4 เงื่อนไข ประกอบด้วย 1. เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ 1) ประเมินตนเอง ตามสภาพจริง 2) พัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของตนเองอย่างต่อเนื่อง 3) มีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง และ 4) สร้างความร่วมมือและเครือข่ายการพัฒนา 2. เงื่อนไข ที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาไม่ตระหนักเห็นคุณค่าของการพัฒนา 2) ผู้บริหารสถานศึกษาไม่มุ่งมั่นพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองจนสำเร็จ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาไม่พัฒนาตนเอง ตามรูปแบบและวิธีการที่ได้กำหนดไว้

         3.  ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ                  การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน               

              3.1 การตรวจสอบรูปแบบเชิงคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.80, S.D. = 0.17) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (  = 4.70,  S.D. = 0.16)

              3.2 การตรวจสอบรูปแบบเชิงปริมาณโดยผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.60, S.D. = 0.48) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (  = 4.31, S.D. = 0.44)

Article Details

Section
บทความวิจัย