การศึกษาสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจในประเทศไทย

Main Article Content

ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ การจูงใจ การค้ำจุน นโยบายภาครัฐ และสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจในประเทศไทย  2) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจในประเทศไทย  และ 3)เพื่อพัฒนารูปแบบปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจในประเทศไทย  โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methodology) ที่มีทั้งวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)และเชิงปริมาณ(Quantitative Research)  เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่สำคัญ (Key Information) จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 1,000 คน (Hair et.al, 2007) พร้อมกับวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง  ค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง และค่าความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส อายุช่วง 29-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานบริษัท   ขนาดใหญ่ ตำแหน่งหัวหน้างาน และมีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 10 ปี  ส่วนความคิดเห็นในด้านสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ พบว่า นักทรัพยากรมนุษย์มีความคิดเห็นโดยรวมในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจูงใจ รองลงมา คือ ด้านการค้ำจุน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์  นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล กับปัจจัยต่างๆ พบว่าตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์  ส่วนประสบการณ์ทำงานมีความสัมพันธ์กับการจูงใจ และสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์  อีกทั้งขนาดของธุรกิจมีความสัมพันธ์กับการค้ำจุน และนโยบายภาครัฐ

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจในประเทศไทย  มีความสอดคล้อง/กลมกลืมของโมเดลตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในระดับที่ยอมรับได้  โดยพิจารณาจากค่าสถิติ คือ χ2 = 1,034 , df = 104 , p-value = 0.00 ; Relative χ2= 9.94 ; RMSEA = 0.12 ; P-Value for Test of Close Fit = 0.00 ; NFI = 0.96 ; NNFI = 0.92 ; RFI = 0.92 ; GFI = 0.86 ; AGFI =0.71 ; PGFI =0.41 ; CN = 155 ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรสังเกตได้นำไปใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ มีตัวแปรทั้งหมด 25 ตัวแปร ซึ่งตัวแปรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 186 คู่ ทิศทางของความสัมพันธ์ทั้งทางบวกและทางลบ  จากนั้นพัฒนารูปแบบปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะนักทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจในประเทศไทย  “3C 3S to  be  HR  Professional”

 

Article Details

Section
บทความวิจัย