การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน โดยใช้หลักการบริหารวงจรเดมมิ่งในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

มรกต วงษ์เนตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้         ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโดยใช้หลักการบริหารวงจรเดมมิ่ง ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 1   การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัญหาการพัฒนาครู โดยการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้     ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้างประเด็นการสนทนา  ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2)  การศึกษาแนวทางการพัฒนาครู โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักวิชาการ จำนวน  5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง   ประเด็นการสนทนาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหาการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด พบว่า ขั้นตอนที่มีปัญหาการพัฒนาสูงที่สุดคือ ขั้นตอนการวางแผน (Plan) พบว่า ประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุดคือโรงเรียนไม่มีการกำหนดแผนการพัฒนาครู   ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ (Do)  พบว่า โรงเรียนใช้วิธีการไม่สอดคล้องกับความต้องการของครูและสภาพความพร้อม ขั้นตอนการตรวจสอบ(Check)  พบว่า  โรงเรียนไม่มีหรือกำหนดเกณฑ์การประเมินผลจากการพัฒนาครู และขั้นตอนการปรับปรุง (Act) พบว่า  โรงเรียนไม่มีการดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขต่อการพัฒนาครูเมื่อพบข้อพบพร่องหรือดำเนินการไม่ต่อเนื่อง 

2. แนวทางการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน     ประกอบด้วย  ขั้นตอนการวางแผน (Plan)ได้แก่ สำรวจปัญหาที่ชี้เฉพาะ กำหนดโยบาย และพัฒนาครู พัฒนาครูอย่างเป็นระบบ  ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ (Do) ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างทัศนคติที่ดี และเปิดใจให้กว้าง ขั้นตอนการตรวจสอบ(Check)  ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์หรือเกณฑ์การวัดความสำเร็จที่ระบุทักษะการคิด  แต่งตั้งคณะกรรมการให้ครูมีส่วนร่วมออกแบบการคิดให้นักเรียน  ขั้นตอนการปรับปรุง (Act)  ได้แก่ ควรกำกับติดตามการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน  

Article Details

Section
บทความวิจัย